ในวิกฤต... มีความหวัง

โดย ณัฐฬส วังวิญญู ตีพิมพ์ครั้งแรกในชื่อ "สังคมแห่งนำ้ใจ"​ หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554
ผมติดตามข่าวคราวน้ำท่วมนับตั้งแต่กรุงเก่าถึงกรุงเทพฯ อย่างรู้สึกหนักอกหนักใจ ยิ่งได้ยินเรื่องราวของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามกีดกันน้ำออกจากพื้นที่ของตัวเองจนเดือดร้อนชุมชนอื่นๆ ก็ยิ่งรู้สึกเศร้าใจ เพราะแทนที่เราจะช่วยกัน เรากลับกีดกัดแบ่งแยกกันยิ่งขึ้น แต่ก็ดีใจที่ได้เห็นว่าชุมชนหรือสังคมในหลายพื้นที่ “เลือก” ที่จะร่วมไม้ร่วมมือกันในการฝ่าวิกฤตครั้งนี้

การที่ต้องเผชิญกับวิกฤตที่คิดไม่ถึงหรือจินตนาการไม่ออกว่ามันจะเกิดขึ้นกับเราได้ ทำให้หลาย ครอบครัวและองค์กรเกิดความระส่ำระสายว่าจะจัดการป้องกันหรือหนีจากน้ำท่วมอย่างไร

ผู้นำ คือ ผู้หล่อเลี้ยงสมดุลชีวิต



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 10 กันยายน 2554

แนวคิดในการสร้างผู้นำ การพัฒนาระบบ วิธีการและภาวะผู้นำคงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับบ้านเราที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ องค์กร และสังคมทุกภาคส่วน แต่รูปแบบของผู้นำที่พบส่วนใหญ่จะมีลักษณะ “ควบคุม สั่งการ” เป็นลักษณะเด่น

เวลาตั้งคำถามว่า “เราชอบผู้นำแบบไหน” เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นตอบว่า ต้องการ “ผู้นำที่รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง” นอกนั้นก็อาจจะบอกว่า “คิดเก่ง ทำเก่ง เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง มองการณ์ไกล มีคุณธรรม ใจกว้าง กล้าเสี่ยง”

โรงงานผลิตขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพนักงานมากกว่าสองหมื่นคน ผู้นำในโรงงานบอกว่า “ปัญหาที่ลูกน้องมาระบาย ร้อยละ ๘๐ เป็น

บันทึกจากเวิร์คชอป "แปลรักเป็นความ"

โดย โอม รัตนกาญจน์
จากการอบรมเมื่อวันที่ 9  - 11 ก.ย. 54 โดย กัญญา ลิขนสุทธิ์ และ ณัฐฬส วังวิญญู

แปล "รัก" ให้เป็น "ความ (เข้าใจ) "

“รัก” คำๆ นี้เป็นทั้งแหล่งของความสุขและทุกข์แสนสาหัส ความรักของทุกคู่มักเริ่มต้นด้วยความหวานชื่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป การอยู่ร่วมกันของคน 2 คนกลับไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต่างคนต่างมีความคาดหวังต่อกัน ต่างมีรู้สึกคับข้องใจในประเด็นต่างๆ มากมาย จึงง่ายที่จะกระทบกระทั่งหรือขัดแย้ง หากมากเข้าจากความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจกลายเป็นความรุนแรง และสุดท้ายก็ต้องเลิกรากันไป กัญญา ลิขนสุทธิ์ นักฝึกอบรมด้านการสื่อสารด้วยความกรุณา และ ณัฐฬส วังวิญญู นักฝึกอบรมด้านสุนทรียสนทนา ต่างเคยเผชิญกับเรื่องราวเหล่านี้และเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทุกคู่รักน่าจะได้เรียนรู้

“ความรักเนี่ยเป็นเรื่องนามธรรม แม้ทุกคนจะเข้าใจความหมาย แต่กลับแสดงออกไม่เหมือนกัน ทำให้เราตีความการกระทำและคำพูดของอีกฝ่ายไม่ออก หรือเข้าใจผิดไป คำถามคือ เราจะแปลความรักให้ตรงกันได้อย่างไร เราจะเลือกแปลจากคำพูดหรือการกระทำ และเราจะแปลความรักในใจเราให้เป็นคำพูดและการกระทำแบบไหนถึงจะทำให้เขาจะเข้าใจเราได้” ณัฐฬสกล่าว

ส่วนกัญญาคิดว่าความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษ เป็นการเดินทางทางจิตวิญญาณในอีกรูปแบบหนึ่ง “เวลาที่เรามีคู่ การเดินทางของเราจะเหมือนได้ติดเครื่องแรงๆ มีฟืน มีไฟ มีแรงส่ง มีแรงยึดเพิ่มมากขึ้น เพราะถ้าเราเดินทางคนเดียว เราอยากทำอะไรเราก็ทำ แต่เวลาที่มีคนอีกคนคนอยู่ด้วย เราต้องปรับ คุย และคิดถึงเขาคนนั้นอย่างใกล้ชิด ถ้าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราเห็นว่า ระหว่างการเดินทางด้วยกันมันมีอะไรเกิดขึ้น สิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยในการเดินทางครั้งนี้”

หลากเรื่องแปลรัก



เรื่องเล่าแปลรักเป็นความ (1) “กินข้าวไหม” & “อยากให้รู้ใจผม”


ผู้ชาย คนหนึ่ง เป็นคนทำงานรับผิดชอบงานดีมาก ทุกๆ วันหลังเลิกงาน เขาจะรีบกลับบ้าน พอถึงบ้าน ภรรยาก็ถามว่า “กินข้าวมาหรือยัง กินข้าวไหม”  เขารู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งที่ได้ยิน “ทำไมถึงถามอย่างนี้ ผมอุตส่าห์รีบกลับมา ผมก็ต้องกินข้าวกับคุณสิ ทั้งๆที่อยู่ด้วยกันมา ๑๕ ปี แท้ๆ ทำไมไม่รู้ใจกัน” พอมีเวลาได้ใคร่ครวญว่า ที่ภรรยาถามอย่างนี้ทำไม จริงๆแล้ว เธอไม่ใช่อยากรู้ว่าสามีกินข้าวหรือยังหรอก แต่เธออยากแสดงความห่วงไย เขาอาจแปลความหมายผิด พอคิดถึงใจของภรรยาที่เป็นแม่บ้าน อุตส่าห์ออกจากงานมาเลี้ยงดูลูก เธอคงจะเหงา ทุกวันรอให้ได้เจอหน้ากัน พอเจอหน้าก็เลยถามคำถามนี้ แต่เขากลับไม่เข้าใจ

ความรัก... ใยต้องแปล#2

แรงบันดาลใจของคอร์ส “แปลรักเป็นความ”

บทสัมภาษณ์​ อ.หลิ่ง (กัญญา ลิขนสุทธิ์)
text พรรัตน์ วชิรชัย




พี่คิดว่า ถ้าตอนแต่งงาน พี่มีเครื่องมือที่ช่วยให้พูดคุยกับอดีตสามีของพี่ได้ มันคงจะดีมากเลย อีกส่วนหนึ่งพี่เห็นว่า ความสัมพันธ์แบบคู่รักมันเป็นการเดินทางทางจิตวิญญาณ เวลาที่เรามีคู่ การเดินทางของเราจะเหมือนได้ติดเครื่องแรงๆ มีฟืน มีไฟ มีแรงส่ง แรงยึดเพิ่มขึ้น เพราะถ้าเราเดินทางคนเดียว เราทำอะไรก็ตามใจตัวเองได้ แต่เวลามีอีกคนอยู่ด้วย เราจำเป็นต้องปรับ ต้องคุย ต้องคิดถึงอีกคนอย่างใกล้ชิด เลยคิดว่าจริงๆ แล้วมันเป็นความสนุกของชีวิต แล้วถ้าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เรามองเห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น ก็น่าจะช่วยให้การเดินทางระหว่างคน 2 คน สื่อสารกันโดยมีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน

การ “เห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น” สำคัญอย่างไร
ปรกติในชีวิตเรา เรามักไม่รู้สึกตัว การเห็นก็คือการรู้เท่าทันตัวเอง เรารู้สึกและตระหนักรู้ ทำให้การตัดสินใจของเราเป็น Conscious Choice เช่น เมื่อเช้าพี่กับหลานนั่งกินข้าวเช้าแบบบุฟเฟ่ต์ที่โรงแรมด้วยกัน เราก็เปรยขึ้นมาว่า เราไม่มีช้อนส้อม อยู่ๆ หลานก็วิ่งจากห้องกินข้าวไป ในใจเราก็เริ่มรู้สึกไม่ดีแล้ว อะไรเนี่ย วิ่งทำไม เดี๋ยวก็ชนคนอื่นหรอก

ความรัก... ใยต้องแปล#1



ที่มาของ “แปลรักเป็นความ”

บทสัมภาษณ์ อ.ณัฐ (ณัฐฬส วังวิญญู)
text พรรัตน์ วชิรชัย

ผมได้คุยกับพี่หลิ่งว่าเราอยากจะทำคอร์สที่เกี่ยวกับชีวิตคู่ เพราะเวลาที่ความสัมพันธ์ในชีวิตคู่มีปัญหา มีความคิดเห็นต่าง หลายๆคู่สื่อสารกันได้ยาก เราอยากจะเอาวิธีการของ “การสื่อสารอย่างสันติ” มารวมกับ “สุนทรียสนทนา” เพื่อชวนคนที่สนใจมาเรียนรู้เรื่องการสื่อสารในคู่รัก โดยตั้งชื่อการอบรมครั้งนี้ว่า “แปลรักเป็นความ”

ความรักเป็นเรื่องนามธรรมที่แม้ว่าทุกคนจะเข้าใจความหมายของมัน แต่ว่าแต่ละคนกลับแสดงความรักออกมาไม่เหมือนกันเลย ทำให้เราตีความ “การกระทำ” และ “คำพูด” ไม่เหมือนกัน และทำให้เข้าใจกันผิด

เราจะแปลความรักให้ตรงกันได้อย่างไร? เราจะแปลจากคำพูดหรือการกระทำของเขา? และเราจะแปลความรักในใจเราให้ออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำแบบไหนถึงจะทำให้เขาจะเข้าใจเราได้?

บางคนเลือกที่จะแสดงออกความรักด้วยการกระทำ ผ่านการซื้อของ ทำนั่นนู้นนี้ให้ แต่ไม่ชอบพูด แต่อีกคนอยากได้ยินคำพูด ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าอีกฝ่ายทำให้ด้วยความรัก แต่อยากได้รับการยืนยัน เป็นต้น เราจึงต้องมาฝึกแปลให้ความคิด การกระทำ และคำพูดของเราให้สอดคล้องกัน เพื่อที่เราจะเข้าใจกันมากขึ้น

ทำไมต้องจัดให้เฉพาะคู่รัก

เสียงสะท้อน "แปลรักเป็นความ" #1

จากส่วนหนึ่งของบทความในคอลัมน์ชื่อเดียวกันในนิตยสารสุขกายสบายใจ ฉบับที่ 1 /มีนาคม 2554 โดย ณัฐฬส วังวิญญู

การสื่ิอสารในชีวิตคู่และครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยหล่อเลี้ยงความรักให้มั่นคงและมีความสุข หลายคู่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานและเศรษฐกิจ แต่กลับไม่พบความสุขในชีวิตรัก เรื่องที่พูดได้ยากแต่มีความสำคัญกับชีวิต ซึ่งมักจะเป็นเรื่องใกล้ๆ ตัว และอยู่ในชีวิต เช่น เรื่องเงินๆ ทองๆ เรื่องพ่อตาแม่ยาย เรื่องการเลี้ยงลูก เรื่องความใกล้ชิดและความต้องการทางเพศ

บ่อยครั้งที่ทางออกคือการเก็บไว้ ไม่สื่อสาร เพื่อลดความเสี่ยงในการกระทบกระทั่ง แต่ถ้าเป็ฯเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็อาจบั่นทอนความไว้วางใจและความสุขในชีวิตคู่ได้

เมื่อวันที่ 9 - 10 ตุลาคม 2553 สถาบันขวัญแผ่นดินได้จัดหลักสูตร “แปลรักเป็นความ”             (Love in Translation) เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้สำหรับคู่รักและครอบครัว เพื่อเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้กลับมาทำความเข้าใจกับตัวเองและคนรักว่า แต่ละฝ่ายมีความรู้สึก ความต้องการ และการแสดงออกที่มีความหมายต่างๆ อย่างไร ทั้งยังเป็นการฝึก “การสื่อสารความในใจ” ที่เป็นเรื่องสื่อสารยากๆ ไม่ว่าจะผ่านการกระทำหรือการพูด

ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งที่ได้มาเข้าร่วมเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ได้สะท้อนว่า

ช้าเป็น ได้เปรียบ


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 2 กรกฎาคม 2554

ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ พยายามแก้ปัญหาคนทำงานขาดความกระตืนรือล้น ขาดการเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ขาดการทำงานเป็นทีม ขาดนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ความขัดแย้ง และการแบ่งฝักฝ่าย ขาดความร่วมมือและความสามัคคี ทั้งๆ ที่มีคนเก่งและความตั้งใจที่ดี แต่ยังแยกส่วนไม่เชื่อมประสานกัน

ผู้บริหารมีนโยบายจัดอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวผ่านวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่เชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องการพัฒนาองค์กร หรือการเพิ่มพลังชีวิตให้เป็นสุข และสร้างความมุ่งมั่นในการทำงาน หรือไม่ก็ทำกิจกรรม สร้างความเป็นทีม เพื่อคลี่คลายปัญหาขุ่นข้องหมองใจและการแบ่งแยกห่างเหิน หรือเป็นปฏิปักษ์ภายใน ไปจนถึงการพาพนักงานไปปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาสติและความสุขให้เกิดขึ้นในการทำงาน  โดยส่วนใหญ่เป้าหมายสุดท้ายของความพยายามเหล่านี้ก็เพื่อการสร้างผลงานที่มากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพงานดีขึ้น เพราะองค์กรโดยมาก ไม่ว่าจะเป็นราชการหรือธุรกิจหรือแม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชน ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำให้คนในองค์กรมีความสุข แต่มีเป้าหมายจำเพาะที่ต้องบรรลุ ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นไปเพื่อนำไปผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอีกทีหนึ่ง

ไม่แปลกที่หลายองค์กรได้พัฒนาความรู้และทักษะในการทำงาน หรือแม้แต่ปรับปรุงคุณภาพและระบบงานได้อย่างครบถ้วนก้าวหน้า แต่ยังขาดสิ่งที่จะขับเคลื่อนระบบ

ผีเสื้อเปลี่ยนโฉมใหม่ (มิ.ย. 54)

BJ_ButterflyJournal     เนื่องจากจดหมายข่าวผีเสื้อ (Butterfly Journal) ซึ่งจัดทำโดยทีมงานขวัญแผ่นดิน สถาบันเพื่อการเรียนรู้โลกด้วยใจ ได้ส่งบทความและข่าวสารกิจกรรมถึงทุกท่านมาเกือบ 2 ปีแล้ว (ว้าว!)  ที่ผ่านมา เมื่อมีการพูดคุยกันในกลุ่มอีเมล์ เราพบว่าสมาชิกบางท่านไม่ต้องการรับอีเมล์ที่สนทนากันทั้งหมด ทางทีมงานจดหมายข่าวผีเสื้อจึงมองหาทางเลือกใหม่เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจึงตัดสินใจย้ายมาที่ MailChimp ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ยังช่วยให้ท่านอัพเดทสมาชิก คือ แก้ไขข้อมูลในการสมัคร เลือกประเภทจดหมายข่าวที่ต้องการ รวมทั้ง หากไม่ต้องการรับจดหมายข่าวแล้ว ก็สามารถ ยกเลิก ได้ทุกเวลา ทุกอย่างง่ายขึ้นมาก :-)

เปิดหัวใจสู่การได้ยิน


10 ปีที่แล้ว หนุ่มไทยคนหนึ่งเรียนจบด้านผู้นำสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยนาโรปะ โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริมเรื่องการรู้จักตัวเองและเข้าใจชีวิตบนพื้นฐานพุทธธรรม เมื่อกลับประเทศไทย เขามีแรงบันดาลใจที่จะแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนร่ำเรียนมาสู่แผ่นดินเกิด ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ชวนคนมาล้อมวงแลกเปลี่ยนกันเรื่องการศึกษา สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเรื่องสังคม แต่วงพูดคุยกลับเต็มไปด้วยการถกเถียงและไม่เกิดการเรียนรู้ใดๆ ขึ้น

“ทำไมล่ะ ทั้งๆ ที่หลายคนก็เป็นคนดี มีความรู้ และปฏิบัติธรรม?” เขาตั้งคำถาม หลังจากสืบค้นครั้งแล้วครั้งเล่า เขาพบว่าเหตุอาจเป็นเพราะ “เราไม่ได้ยินกันและกัน และเราไม่ได้ยินตัวเอง”

เด็กหนุ่มในวันนั้น คือ ณัฐฬส วงวิญญู หนึ่งในกระบวนกรผู้ริเริ่มศาสตร์ “สุนทรียสนทนา” ขึ้นในประเทศไทย

“ผมพบว่าหลายครั้งในวงพูดคุย คนที่พูดมักเป็นผู้รู้หรือคนที่พูดเก่ง ส่วนคนไม่พูดก็เงียบๆ ฟังแบบแกนๆ ในองค์กรก็เช่นเดียวกัน ผู้คนเบื่อการประชุม เหนื่อยกับการแสดงความเห็น ที่ต้องทำก็เพราะงานต้องมีข้อสรุป

เสียงสะท้อนจากวันชุมชนปฏิบัติ

โดย นานาจิตตัง

เราเชื่อว่าการหล่อเลี้ยง ประคับประคองโดย ‘ชุมชน’ ให้แต่ละคนได้เติบโตและเปลี่ยนผ่านไป ‘เป็น’ มนุษย์ที่เต็มเปี่ยมนั้นเป็นสิ่งที่มีพลังอย่างยิ่ง ขวัญแผ่นดินจึงริเริ่มโครงการ “วันชุมชนปฏิบัติ” หรือ “Community Practice Day” เมื่อต้นปี 2554... กระบวนกรอาสาและผู้เข้าร่วมประมาณครั้งละ 10 - 20 ท่านได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และสร้างพื้นที่แห่งการรับฟังและไว้วางใจร่วมกัน  ต่อไปนี้คือตัวอย่างเสียงสะท้อนของนักชุมชนปฏิบัติที่ผ่านมา

 20 มี.ค. 54 “ดุลยภาพในสัมพันธภาพ”
"เป็นอาทิตย์ที่น่าสนใจมากครับ ได้ Fine tune ตัวเองดีครับ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับตัวเอง เพื่อนๆก็มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ, วัย และมุมมอง เป็นการผสมผสานกระแสพลัง-งานที่ลงตัวอุ่นๆ กำลังดีอย่างน่าประ-หลาดเพราะเกิด ขึ้นภายในไม่กี่ชม."  -- คุณชัย, อาศรมอโศก

"ถึงจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ก็ถือเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิดได้ อย่างน้อยก็รับรู้ "คน" ที่ค้นไม่หมดซะที และคลายใจกับ (ปัญหา) ความคิดที่เก็บเอามาด้วย ซึ่งเกิดจากตัวเราเองเป็นที่ตั้ง (หลัก) และคนที่แวด ล้อมเรา (รอง) ก็อยากพยายามเข้าใจต่อไป ถ้ามีโอกาสจะไปอีกแน่นอนค่ะ" -- คุณสิ่ว, นักศึกษาสถาบันอาศรมศิลป์


ทะลายกรอบแห่งชนชั้น

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 เมษายน 2554

ในองค์กรหรือสังคม เมื่อได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เราควรจะคุยกันดีๆ ค่อยพูดค่อยจากัน ใช้เหตุใช้ผล อย่าใช้อารมณ์” หรือ “ผมอยากให้ทุกคนรักกันและยอมรับกันและกันนะครับ” ผมจะตั้งข้อสังเกตก่อนเลยว่ามุมมองนี้มาจากสถานภาพหรือชนชั้นไหนของสังคมนั้นๆ มีอำนาจเชิงเกื้อกูลหรือกดข่ม เพราะบางครั้งคำกล่าวนี้มาจากผู้ที่อยู่ในสถานะที่เหนือกว่า หรือได้เปรียบกว่า ที่มักปรารถนาความสงบ สันติภาพ ความปรองดองหรือความสุขโดยปราศจากการรับรู้ถึงความทุกข์ร้อน หรือบาดเจ็บของผู้ที่อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าในสังคม และความรุนแรงมักเป็นผลมาจากการไม่ได้รับความใส่ใจรับรู้และการถูกละเลยนี้เอง อนิจจา…คนที่รักสันติภาพมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อมุมมองและความรู้สึกนึกคิดและบ่อยครั้งก่อให้เกิดอุปสรรคของการสื่อสารในองค์กรหรือสังคมนั้น มักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ วุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ต่างกัน ทักษะในการสื่อสารไม่มากพอ ความแตกต่างของบุคลิกภาพ การไม่มีเวลาหรือขาดโอกาสในการสื่อสาร และที่สำคัญยิ่งคือความแตกต่างของสถานภาพในสังคม (Rank)

ในหนังสือ นั่งในไฟเพลิง (Sitting in the Fire)

ครั้งหนึ่งที่สบลาน : นิเวศภาวนากับ TOT

วันที่ 12 - 18 ธ.ค. 52 อ.ณัฐฬส วังวิญญู ทีมงานขวัญแผ่นดิน ร่วมกับ อ.สรยุทธ รัตนพจนารถ และหมู่บ้านสบลาน ได้พาผู้เข้าร่วมหลักสูตร TOT (การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนกรจิตตปัญญาศึกษา) ไป เรียนรู้ปัญญาญาณจากธรรมชาติ ณ บ้านสบลาน จ.เชียงราย ผ่าน "นิเวศภาวนา"

ผีเสื้อเดือนมีนา : ทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

(ฉบับเดือน มี.ค. 54 Vol. 1/2011)
“ทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง”
โดย ณัฐฬส วังวิญญู

ในช่วง ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา ปีเตอร์ เซ็งกี้ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สถาบันเอ็มไอที ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายแนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้จนแพร่หลายไปทั่วโลก ผ่านหนังสือของเขาชื่อ The Fifth Discipline โดยนำเสนอแนวคิดในการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ ร่วมกันภายในองค์กรให้กลับมามีชีวิตและเชื่อมสัมพันธ์กันอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเจริญก้าวหน้า พัฒนาและเติบโตต่อไปในสภาพเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปได้

มุมมองของเซ็งกี้ท้าทายแนวคิดการบริหารจัดการแบบเดิมที่มององค์กรเป็นเครื่องจักรกลไก ที่เน้นการทำงานแยกส่วน และมองบุคลากรเป็นเพียง “ชิ้นส่วน” หนึ่งขององค์กร หรือเป็นเพียง ทรัพยากรที่ปรับเปลี่ยนทดแทนได้ คำสั่งและการควบคุมด้วยระบบที่ชัดเจนจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ในขณะที่เซ็งกี้เน้นความสำคัญที่การพัฒนาการเรียนรู้ใน ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถเป็นนายเหนือตัวเอง (Personal Mastery) (อ่านต่อ)

---------------------------

:: Upcoming : กิจกรรมที่กำลังจะมาถึง ::

1. วันชุมชนปฏิบัติครั้งที่ 3 : การเดินทางของไอ้เบื๊อก


วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 54 (9.30 - 16.00 น.)

ณ SmoodToo พญาไทพลาซ่า (Bts พญาไท);

อาสานำกระบวนการโดย : สมพร ครูกส์ (น้าส้ม)

“ฝึกฝนญาณทัศนะ (Intuition) ของตน เพื่อเปิดสนามพลังของการเข้าใจตัวเอง เข้าใจ สถานการณ์ และการเผชิญหน้าอย่างอ่อนน้อม ทว่าเข้มแข็งแบบไอ้เบื๊อก (The Fool’s energy)”

ทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554


ในช่วง ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา ปีเตอร์ เซ็งกี้ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สถาบันเอ็มไอที ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายแนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้จนแพร่หลายไปทั่วโลก ผ่านหนังสือของเขาชื่อ The Fifth Discipline โดยนำเสนอแนวคิดในการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ ร่วมกันภายในองค์กรให้กลับมามีชีวิตและเชื่อมสัมพันธ์กันอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเจริญก้าวหน้า พัฒนาและเติบโตต่อไปในสภาพเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปได้

มุมมองของเซ็งกี้ท้าทายแนวคิดการบริหารจัดการแบบเดิมที่มององค์กรเป็นเครื่องจักรกลไก ที่เน้นการทำงานแยกส่วน และมองบุคลากรเป็นเพียง “ชิ้นส่วน” หนึ่งขององค์กร หรือเป็นเพียง ทรัพยากรที่ปรับเปลี่ยนทดแทนได้ คำสั่งและการควบคุมด้วยระบบที่ชัดเจนจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ในขณะที่เซ็งกี้เน้นความสำคัญที่การพัฒนาการเรียนรู้ใน ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถเป็นนายเหนือตัวเอง (Personal Mastery) การสร้างแบบจำลองความจริง (Mental Model) การเรียนรู้อย่างเป็นทีม (Team Learning) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) และวิธีคิดเชิงระบบ (System Thinking) ทั้งนี้จุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือการเปิดใจเรียนรู้ของคนในองค์กร เพราะหากผู้คนไม่ยอมเรียนรู้หรือปรับตัว องค์กรก็ไม่สามารถเรียนรู้และปรับตัวหรือพัฒนาต่อได้

เพื่อนดีย่อมทำให้ชีวิตไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป




สวัสดีครับ เพื่อนๆ ผู้ร่วมเรียนรู้ทุกคน

ไม่นานมานี้ ผมได้ค้นพบว่า มนุษย์มักขี้ลืมและมักหลงกลับไปสู่ตัวตนและพฤติกรรมเดิมๆอย่างเหนือการควบคุม แม้จะตั้งสติได้ ก็เพียงประเดี๋ยวประด๋าว ไม่ทันการณ์ แต่หากมีโอกาสระลึกรู้อยู่บ่อยๆว่า
"ธรรมชาติที่แท้ของเรา" คืออะไร จะช่วยทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้นที่จะเป็นหรือไม่เป็นอะไร โดยพร้อมที่จะรับผิดชอบผลอันเกิดจากสิ่งที่เราเลือก

การมีเพื่อนดีย่อมนำสิ่งดีๆให้กับชีวิต นี่เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เราจะได้พบปะรู้จักและเรียนรู้จากกันและกัน ความเป็นเพื่อนที่ดี หรือกัลยาณิตรจะช่วยให้เราได้เห็นและเข้าใจตัวเองมากขึ้น อาจารย์เดวิด ไวน์สตอกบอกว่าการมีเพื่อนฝึกจะช่วยให้ เราก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญมันสนุกที่ได้มีเพื่อนร่วมฝึก ร่วมสุข ร่วมทุกข์และร่วมเรียนรู้ ทำให้ชีวิตไม่โดดเดี่ยวลำพังจนเกินไปนัก

พันธะพึ่งพิง (Bonding Pattern)


พันธะพึ่งพิง (Bonding Pattern) : มุมมองของสนทนากับเสียงภายในกับการพัฒนาองค์กร


บทเรียนของสนทนากับเสียงภายใน หรือ Voice Dialogue Work VDW ที่เจมี่มอบให้โดยเฉพาะในระดับหนึ่งบี คือเรื่อง Bonding Pattern ซึ่งหมายถึงแบบแผนความสัมพันธ์ที่เรามีต่อใครก็ตาม แต่เป็นไปหรืออ้างอิงอยู่สัมพันธภาพที่ พ่อแม่ลูกมักจะมีต่อกัน

ในแบบแผนดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานของจิตวิทยาตัวตน (Psychology of  Selves)ที่ว่า บุคลิกภาพของเราตัวตนของเราแต่ละคน ประกอบด้วยบุคลิกย่อย ๆ ตัวตนต่าง ๆ ที่ก่อกำเนิดเสียงด้านต่าง ๆ และแต่ละบุคลิกย่อย หรือตัวตนและเสียงของเขานั้น ต่างมีมุมมอง จุดยืน ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นตัวของเขาเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของเขาเหล่านั้น ซึ่งก็หมายถึง ความต้องการของตัวเรานั้นแหละในหลาย ๆ ด้าน หลายทางที่เราอาจจะคาดไม่ถึง หรีอละเลยด้วยลืมเลือนไปแล้ว

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...