ผ่าตัดโรงเรียน

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2555


ภาพโดย Gokoroko
          เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสทำงานกับโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งในเชียงราย บรรยากาศตอนแรกที่ได้เข้าไป ผมสัมผัสได้ว่าทั้งครูและพนักงานต่างรู้สึกท้อแท้ กังวล และหวาดระแวง ไม่มีใครกล้าพูดอย่างเปิดเผย ความเงียบงำทำให้วงประชุมดูอึมครึม เก็บกดมากกว่าผ่อนคลาย ทั้งๆ ที่ในอดีตโรงเรียนแห่งนี้มีบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุข ทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างแข็งขัน ทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองต่างรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ แต่มีบางอย่างเกิดขึ้นราวกับโรคระบาดในชุมชนแห่งนี้ จนทำให้เกิดอาการต่างคนต่างอยู่ และทำงานไปวันๆ หลีกเลี่ยงที่จะสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา แม้แต่ในกลุ่มผู้ปกครองเองก็ได้รับโรคนี้ไปด้วย แบ่งเป็นพรรคเป็นพวก เกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินงานของโรงเรียน หลายคนตัดสินใจพาลูกออกไปหาที่เรียนใหม่ จำนวนนักเรียนตกฮวบเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ครูและคนทำงานสนับสนุนต่างเสียขวัญและกำลังใจในการทำงาน 

          ครั้งแรกที่ผมเข้าไปจัดประชุมเพื่อเปิดพื้นที่รับฟังเสียงของทุกคนในโรงเรียน ก็สังเกตเห็นจากสีหน้าท่าทางของผู้คนที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่หลากหลาย มีทั้งรู้สึกหวาดระแวง ไม่ปลอดภัย และไม่อยากพูดอะไร เพราะคิดว่า “พูดไปก็เท่านั้น ไม่มีอะไรดีขึ้น เปลืองเนื้อเปลืองตัว เสียเปล่า” หรือไม่ก็เป็นความรู้สึกโกรธที่ไม่ได้รับการดูแลและใส่ใจให้คุณค่าจากผู้บริหาร หลายคนพูดถึงความห่วงใยที่มีต่อเด็กๆ และผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และกังวลว่าอนาคตของโรงเรียนและตัวเองที่ดูง่อนแง่นไม่มั่นคงจะดำเนินไปอย่างไร

          การเปิดวงสนทนาเพื่อนำเองความในใจจากมุมมืดทั้งหลายออกมาสู่ที่แจ้งจากการพูดคุยถึง “คนอื่น” ในกลุ่มย่อยมาสู่ “พื้นที่ร่วม” กันนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก ไม่มีใครสามารถบังคับและกะเกณฑ์ให้ใครต้องพูดได้

การสืบค้นของคนขี้สงสัย ตอนที่ 2: เส้นทางเดินของผู้กล้า


ภาพโดย Janthip Piyaworlathum

          ในการแสวงหาเส้นทางเดินแห่งจิตวิญญาณ เราแต่ละคนล้วนมีเส้นทางของตัวเอง แม้ว่าศาสนาหรือผู้รู้จะได้แสดงให้เห็นว่าเส้นทางที่มีศาสดาทั้งหลายเดินมาก่อนหน้าเป็นอย่างไร และแม้เราจะยอมเดินตามด้วยความเคารพและจริงใจเพียงใด ภารกิจของเรา คือการแสวงหาด้วยตัวเราเอง เพื่อที่จะได้รู้อย่างประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง และนั่นอาจหมายถึงการลองเป็นตัวของตัวเอง ที่เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาและตัดสินโดยผู้คนในสังคม  จึงจำต้องอาศัยความกล้าหาญ และกำลังใจอย่างยิ่ง  และเมื่อเราค้นพบศักยภาพของที่เป็นดังขุมทรัพย์ภายในตัวเองได้ เราจะตอบแทนสังคมได้อย่างสมภาคภูมิ

          ผมขอยกงานเขียนของโจเซฟ แคมเบล นักตำนานวิทยาผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับการ แสวงหาทาง จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย จากหนังสือ A Joseph Cambell Companion: Reflection of the Art of Living ที่เหมือนกับกลั่นกรองและสะกัดมาจากความเข้าใจในการแสวงหาของมนุษย์ที่เขาสั่งสมมาหลายสิบปี

          อภิสิทธิ์อันสูงสุดของการมีชีวิตที่เราได้รับ อยู่คือการได้เป็นสิ่งที่เราเป็นไม่ว่าคุณจะทำอะไร ก็ตาม จงทำมันราวกับเล่นชีวิตนั้นหามีความหมายใดๆ คุณนำความหมายมาใส่ให้ชีวิต ดังนั้น ความหมาย ของชีวิตก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความหมายมันอย่างไร ความหมายของชีวิตก็คือการมีชีวิตอยู่ 
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...