ร่างแห่งเรา เงาแห่งตน



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2553

มีคำกล่าวที่คุ้นหูว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” น่าตั้งคำถามว่า “จริงหรือ?”

เราอาจตีความคำกล่าวนี้ได้ว่า เราควบคุมร่างกายและอารมณ์ของเราเองได้หากเรา “ควบคุม” จิตใจหรือความคิด-ความรู้สึกเราได้ แต่เคยสังเกตไหมครับว่า ความคิดเห็นของเราได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสภาวะของร่างกายมากน้อยเพียงใด จริงๆแล้วกายและจิตเป็นคู่แฝดที่พึ่งพาอาศัยกันอย่างเท่าเทียม และในทางประสบการณ์นั้น กายเป็นนายจิตเสียเป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่ว่า “เรา” หรือการรับรู้ถึงการมีอยู่ของ “ตัวเรา” นั้นดำรงอยู่ใน “จิต” ดังนั้น คำกล่าวนี้จึงเป็นเสียงที่มาจากฝั่งของ “จิต” ที่อยากเป็นนาย ที่เป็นอิสระจาก “กาย” และอยากเป็นฝ่ายที่สามารถควบคุมทิศทางของชีวิตมากกว่า ทัศนะแบ่งแยกทางความคิดอย่างนี้มีมานานทั้งในโลกของศาสนาและวิทยาศาสตร์ที่ประกาศอำนาจของฝั่งจิตเหนือกาย มนุษย์เหนือธรณีและธรรมชาติ บ้างก็ถึงกับมองร่างกายว่าเป็นความสกปรกและมีความเป็นสัตว์ที่เต็มไปด้วย ความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด

ในบรรดาวิชาความรู้เพื่อการเข้าใจตัวเองและธรรมชาติของชีวิต (Contemplative Education) ที่บ้านเรามีคำเรียกว่าจิตตปัญญาศึกษานั้น การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของร่างกายและอารมณ์นั้น กำลังเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง ด้วยสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความเจ็บป่วยทางกายและจิตที่เป็นผลมาจากสภาพ ชีวิตที่เร่งรีบบีบคั้น และความไม่สามารถจัดการภาวะภายในของตนเองได้ แนวทางออกที่หลอมรวมวิถีแห่งสติและจิตวิทยาสมัยใหม่ หรือแม้แต่กระบวนการเยียวยากายจิตแบบดั้งเดิมของชนเผ่า ก็ดูเหมือนจะกลับมาสมสมัยอีกครั้ง

เสียงสะท้อนจาก 'กายกรุณา'


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
ผมเริ่มชอบคอร์ส กายกรุณา ตั้งแต่เห็นคำประกาศของพื้นที่ฝึกที่เรียกว่า “โดโจ” แล้ว เพราะเป็นประกาศที่เปิดโอกาสกับการฝึกฝนสู่ความเป็นเลิศที่เปิดรับความผิดพลาดทั้งมวล โดยไม่ถือว่าอะไรผิดหรือถูก แต่เพื่อให้เกิดการแสดงออกอย่างเต็มที่ ปลอดภัยสำหรับทุกคน

สิ่งที่เราสื่อสาร 7% ผ่านคำพูด 93% เป็นสิ่งที่เราแสดงออก ได้แก่ 53% ผ่านน้ำเสียง อีก 40% ผ่านกิริยาหรืออาการทางกาย และส่วนใหญ่ที่ผ่านทางกายเป็นไปตามการเรียนรู้ (ที่ได้รับการถูกสอน) แบบเดิมๆ โดยเฉพาะในภาวะปกป้อง เพราะสมองส่วนที่เป็นสัญชาตญาณ กระทำการอย่างรวดเร็วอย่างไม่ต้องพึ่งพา “ความตั้งใจ” หรือ “สติ” อะไรของเจ้าตัวเลย

ครูเดวิดให้ลองยื่นหมัดให้ชิดหน้าของบางคน สิ่งที่คนนั้นตอบสนองคือการยื่นหมัดดันกลับ เป็นต้น หรือเวลาที่เดวิดให้เราแต่ละคนได้เช็คอินว่าอะไรที่ทำให้เรามาเรียนรู้คอร์สนี้ และเป็นเพราะเราแคร์อะไร หรือให้คุณค่าหรือความ

Informal Dialogue



มาการ์เร็ต วีทเล่ย์บอกว่า

คนที่มีความเครียดจะสูญเสียความสามารถในการมองเห็นแบบแผนของปรากฎการณ์ และไม่สามารถมองเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น และเมื่อคนถูกถมทับด้วยงานอันท่วมท้น พวกเขาไม่มีเวลาหรือความสนใจที่จะมองให้ไกลไปกว่าสิ่งที่พวกเขาต้องทำในแต่ละสถานการณ์ ดังนั้น มันจึงสำคัญที่องค์กรจะต้องมีกระบวนการนำพาคนให้ได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้มุมมองและความท้าทายที่แต่ละคนกำลังประสบ ถ้าองค์กรไม่เอื้อให้กระบวนการนี้เกิดขึ้น คนจะละห่างจากกันและกลับไปหาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ การถดถอยกลับไปหาตัวเองมีผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน คนจะถูกงานท่วมตัว พวกเขาสูญเสียความรู้สึกที่เขามีความหมายต่องาน และรู้สึกว่าถูกตัดขาดจากผู้อื่นและอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนยุ่งมากขึ้นและวิตกกังวลมากขึ้น แต่สิ่งที่พวกเขาผลิตทำกลับเพิ่มความเครียดยิ่งขึ้น เมื่อผู้คนสูญเสียการรับรู้ถึงบริบทที่กว้างออกไปของการทำงาน ผลเสียที่ร้ายแรงอื่นคือระดับสติปัญญาของทั้งพนักงานและองค์กรโดยรวมลดลงอย่างมาก

ผีเสื้อเดือนตุลา : เด็กน้อยภายใน

:: จม.ข่าวผีเสื้อ : Butterfly Journal ::
(ฉบับเดือน ต.ค. 53 Vol. 7/2010)


ในบรรดา Archetype หลายร้อยหลายพันในตัวเรานั้น “Inner Child” หรือ “เด็กน้อย” เป็นผู้ที่มีความสำคัญ กุมกุญแจไขความลับของชีวิต หรือบางคนก็ว่า “เป็นผู้ถือลายแทงทางจิตวิญญาณของเรา”... ขนาดนั้นกันเลยทีเดียว!

ดิฉันรู้จักและเข้าใจคำว่า “Archetype” จาก Voice Dialogue (คิดค้นโดย Dr. Hal&Sidra Stones นักจิตวิทยาสาย Carl G. Jung) ซึ่งสรุปตามความเข้าใจของตนเองแล้ว Archetype ก็คือแม่พิมพ์ของบุคลิกภาพ (หรือ ลักษณะต่างๆ) ซึ่งเป็นคุณลักษณะสากลที่เราแต่ละคนใช้ และแชร์ร่วมกันในจิตใต้สำนึกร่วม

ถ้าจะให้เล่าเรื่อง Archetype, Voice Dialogue และ Carl Jung ทั้งหมดในที่นี้ ก็เกรงว่าจดหมายข่าวผีเสื้อจะกลายเป็นหนังสือเล่มไป ดิฉันจึงอยากจะเชิญชวนทุกท่านอ่านบทความที่น้าส้ม - สมพร อมรรัตนเสรีกุล เขียนเกี่ยวกับบทบาทของ Archetype “เด็กน้อย” ในนิตยสารออนไลน์ Women40Plus กันดีกว่า

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่ทุกท่านยังพลาดไม่ได้ นั่นคือ “Introduction to Voice Dialogue” วันเสาร์ที่ 20 พ.ย. 53 นี้ ซึ่งเปิดให้เข้าร่วมฟรี (แต่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้านะคะ) โดยอาอู๊ด - สมพล ชัยสิริโรจน์ จะมาแบ่งปันเรื่องตัวตนต่างๆ ภายในตัวเรา ให้ทุกท่านรับฟังและเรียนรู้กันเต็มอิ่มตลอดวัน แล้วพบกันนะคะ ;-)

- สุวัฒนา ชุมพลกูลวงศ์ (นา), ต.ค. 53

---------------------------

:: บทความ : “เด็กน้อยภายใน” :: 
โดย  สมพร อมรรัตนเสรีกุล (น้าส้ม)

เด็กน้อยภายใน



อะไรทำให้เราโหยหาความอ่อยเยาว์ นอกจากการดูเอ๊าะๆอ่อนกว่าวัยทางกายภาพแล้ว มีอะไรที่มากกว่านั้นอยู่เบื้องลึกของจิตใจเราหรือเปล่า ที่ทำให้เราไม่อยากเผชิญหน้ากับคำว่า ดูแก่จัง และพึงพอใจกับคำว่า ดูเด็กอยู่ ลองมาหาคำตอบกัน


"โอ้โฮ ! พี่หน้าเด็กจังเลย"

"เอ๊ย ! ไม่ได้เด็กแต่หน้านะจ๊ะ หัวใจและจิตวิญญาณ ก็ยังเด็กอยู่เสมอจ๊ะ” :)


เมื่อคนเราอายุมากขึ้นหรือพูดง่ายๆว่าแก่ลง เวลามีใครมาทักว่าเราดูอ่อนกว่าวัยหรือหน้าเด็ก มันก็มักจะ

การเปิดเผยและเปราะบางของ “ครูที่แท้”


"ครูส่วนใหญ่ที่นักเรียนประทับใจไม่ใช่ครูที่สอนเก่ง แต่เป็นครูที่จริงใจ เปิดเผย ไม่มีเกราะกำบัง"

ในงานประชุมวิชาการประจำปีจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 2 เรื่อง จิตตปัญญาศึกษา: ทางเลือก หรือ ทางรอดของสังคม ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-4 ธันวาคมนี้ ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ คำถามสุดฮิตของผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คนจะเป็นไปในทำนองว่า การนำจิตตปัญญาศึกษาไปใช้ต่อจะทำอย่างไร มีเครื่องมืออะไร กระบวนการอย่างไร

โมโม่เปลี่ยนแม่


เติบโตจนกระทั่งเป็นคุณแม่ ผู้หญิงคนหนึ่งได้เปลี่ยนแปรความสนใจของตน จากตัวเองมาสู่ลูก ความรักที่มีต่อคนๆ หนึ่งช่วยเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราเชื่อมโยงตนเองกับผู้อื่น จาก "ฉัน" ผู้ต้องการสิ่งต่างๆ มาเป็น "ฉัน" ผู้ให้และตระหนักถึงความต้องการของตนเองไปพร้อมๆ กัน

[ผีเสื้อ : ก.ย. 53] มั่วนิ่ม (?!)


จดหมายข่าวผีเสื้อ เดือนกันยายน 2553
โดย ณัฐฬส วังวิญญู
(Piriya Wongkongkathep : ภาพ)

"หัวใจสำคัญ ของการเป็นเซียนในแขนงวิชาหรือแนวคิดอะไรก็ตาม คือการเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นอย่างไร้ข้อคิดเห็นล่วงหน้า หากมองสิ่งต่างๆตามที่เป็น แล้วสร้างผลลัพธ์จากสิ่งที่อยู่ตรงหน้านั้น" - จากหนังสือ The Three Laws of Performance , โดย Steve Zaffron & Dave Logan

ผมชอบประโยคข้างต้นนี้ เพราะมันทำให้ผมคิดอะไรออกอีกหลายอย่างในการทบทวนบทเรียนจากการทำงานอบรมที่ผ่านมา บ่อยครั้ง เราตระเตรียมงานมากมาย แต่พอเอาเข้าจริงๆ สิ่งที่เราต้องพึ่งพิงอย่างยิ่ง คือ ปัญญาญาณภายใน ที่เชื่อมเข้าหาสถานการณ์ตรงหน้า ที่เรียกร้องต้องการการสำแดงออกบางอย่าง

[ผีเสื้อ : ส.ค. 53] การนับถือกันเป็นแก่นแกนของความรัก


2 - 3 วันก่อน ความคิดหนึ่งผุดขึ้นในหัวว่า “เคยเห็นแต่หนังสือ "คุณ (แม่) คือครูคนแรกของลูก" ... แต่ไม่เคยเห็น "ลูกคือครูคนแรกของคุณ (พ่อ-แม่)" บ้างเลย” แม้จากการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ลูกอ่อนบางท่าน ก็ล้วนสะท้อนไปในทิศทางเดียวกันนี้ แต่นอกเหนือจากบทสนทนาส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าไม่เคยพบเห็นบันทึกความคิดเหล่านี้เป็นลายลักษณ์อักษรเลย

จนกระทั่งได้อ่านบทสัมภาษณ์ของคุณน้าที่รู้จักท่านหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับการเรียนรู้จากชีวิตและลูกๆ ของเธอ ข้าพเจ้าอ่านแล้วเห็นว่าใจความตรงกับความคิดข้างต้น และก็เหมาะกับ “เดือนสิงหาคม” พอดิบพอดี เลยอยากจะนำมาแบ่งปันให้ทุกๆ ท่านได้ละเลียดอ่านดูบ้าง และแท้จริงแล้ว ทุกๆ ความสัมพันธ์ที่แวดล้อมเราอยู่ ล้วนมอบของขวัญเป็นบทเรียนสำคัญแก่เราทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใด ตำแหน่งใดก็ตาม

ขอขอบคุณ “วารสารพลัม” และ น้าส้ม - สมพร อมรรัตนเสรีกุล ที่อนุญาตให้นำบทสัมภาษณ์นี้มาเผยแพร่ ณ ที่นี้ด้วย
- สุวัฒนา ชุมพลกูลวงศ ์

การนับถือกันคือแก่นแกนของความรัก


จากคอลัมน์ “สนทนาประสาธรรม”
วารสารพลัม ฉบับที่ 10 "กุหลาบประดับดวงใจ"
สัมภาษณ์และเรียบเรียง : วรจิตรา

คุยข้ามพรมแดน กับ คนตัวเล็กที่เปลี่ยนแปลงโลก




โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2553


หลังจากวิกฤติราชประสงค์ ต้องนับว่าสังคมไทยตื่นตัวและเรียนรู้มากขึ้น แม้หลายคนจะกลับคืน สู่วัฎจักรของการใช้ชีวิตและการทำงานหาเลี้ยงชีพตามปกติ แต่วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นดูจะรุนแรงมาก พอที่จะกระทบความรู้สึกนึกคิดของผู้คนจำนวนมากของประเทศที่จะมาทำความเข้าใจร่วมกัน เพราะอย่างน้อย บทเรียนหนึ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าเราจะเลือกหรือไม่ เราไม่สามารถอยู่รอดได้ตาม ลำพังโดยไม่รับ ผลจากเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศที่เกิดขึ้น “ทุกเรื่องเป็น เรื่องของทุกคน” (ฟังดูอาจรู้สึกหนักอึ้ง) แต่ถ้ามองกลับกันก็จะเห็นว่า “ทุกคนมีอิทธิพล ต่อทุกเรื่อง” ไม่มากก็น้อย

[ผีเสื้อ : ก.ค. 53] สิ่งที่สำคัญไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา

" เราจะมองเห็นอย่างแจ่มชัดก็ด้วยหัวใจเท่านั้น สิ่งสำคัญไม่อาจมองเห็นได้ด้วยดวงตา It is only with the heart that you can see fully, what is essential is invisible to the eyes "
จาก เจ้าชายน้อย , The Little Princess โดย อังตอน เดอ แซงต์ ซูเปอรี่


ประสบการณ์ในการอบรมการเป็นคนกลาง (Mediator) ขั้นที่ 2 ที่ผ่านมา (3 - 4 ก.ค. 53) ทำให้ฉันรู้สึกว่า ที่ผ่านมา สิ่งที่ฉันเข้าใจเป็นเพียงความมืดบอดในการมองเห็นโลกของฉัน...

ขณะที่พี่หลิ่งเป็นคนกลางให้กับกรณีศึกษาในการอบรมข้างต้น นอกจากฉันจะไม่สามารถทำความเข้าใจสิ่งที่สำคัญสำหรับคนทั้งสองได้แล้ว

บนวิถีแห่ง Dialogue

จาก On Dialogue โดย เดวิด โบห์ม ; แปลและเรียบเรียงโดย ณัฐฬส วังวิญญู
Dialogue (ไดอะลอค) เป็นคำที่เราใช้เรียกวิถีทางที่เรานำมาสำรวจตรวจสอบรากของปัญหาและวิกฤตการณ์ต่างๆที่เราประสบกันอยู่ในปัจจุบัน มันช่วยให้เราสืบค้นเข้าไปดูสิ่งที่ทำให้การสื่อสารที่แท้จริงระหว่างมนุษย์ไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาระหว่างศาสนา ระหว่างเผ่าพันธุ์ หรือระหว่างชาติ หรือระหว่างคนในหน่วยงานเดียวกัน ต้องประสบกับการแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยๆ และถูกรบกวน 


[จดหมายข่าวผีเสื้อ : มิถุนา 53] จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลง?

Where does change actually begin?
“เราจะจัดการอัตตาคนพวกนี้ยังงัยดีี”

โดย ณัฐฬส วังวิญญู

เมื่อคืนผมได้รับโทรศัพท์จากคุณหมอคนหนึ่ง ซึ่งต้องการเชิญผมไปจัดอบรมให้กับบุคลากรของโรงพยาบาล ของตน เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีม และเพิ่มประ-สิทธิภาพขององค์กร

คุณหมอแสดงความหนักใจเล็กน้อยว่า “คนที่สน เขาก็มักจะมาเข้าอบรมแบบนี้เป็นประจำ ส่วนที่ไม่สนใจ ก็จะไม่มากันเลย พวกนี้อัตตาเยอะ คิดว่าตัวเองรู้แล้ว โดยเฉพาะพวกหมอหรือพยาบาลบางคน เราจะทำอย่างไรดี กับอัตตาของคนเหล่านี้”

เราทำอะไรได้บ้าง? เราควรทำอย่างไร?



มื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (1 พ.ค. 53) ข้าพเจ้าได้ไปร่วมงานเปิดตัวนิทรรศการ "ออกแบบสังคม"​ ซึ่งเริ่มจากความคิดของกระทาชายธรรมดาคนหนึ่ง ที่ถามกับตัวเองว่า​ "เราทำอะไรได้บ้าง?" ในสถานการณ์ความรุ่นร้อนทางการเมือง ณ วินาทีนี้ นี่คงเป็นคำถามที่อยู่ในห้วงคำนึงของใครหลายๆ คนในยามนี้เช่นกัน ...

แต่ในความเป็นจริง วิกฤตมิได้เกิดขึ้นแค่เพียงด้านการเมืองเพียงอย่างเดียว และไม่ได้อยู่ที่กลางเมืองหลวงของประเทศไทยเท่านั้น หากลองอ่าน/ดูข่าวจากสื่อต่างๆก็คงทำให้เราทราบเรื่องราวเหล่านั้นได้ไม่ยากนัก แต่บางครั้ง เราก็อาจรู้สึกว่าไม่อาจรับรู้ข่าวสารได้อีกต่อไปแล้ว ความคิดที่ว่า "เราเป็นเพียงแค่คนเล็กๆ จะไปทำอะไรได้" ก็ยังผุดขึ้นมาบ่อยๆ จนอาจทำให้กำลังใจที่จะกระทำสิ่งดีงามที่เรามีถดถอยลงไป

"สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นการกระทำดีๆ ก็สมควรทำ แต่เราคนที่ทำไม่ควรคาดหวังว่าตนจะต้องเป็นคนที่ขับเคลื่อนอะไรให้เกิดผลขยายกระเทือนสังคม" อ. ส. ศิวรักษ์ กล่าวในงานเสวนาอีกแห่ง ณ วันเดียวกัน

"ผีเสื้อขยับปีกก็อาจสะเทือนถึงดวงดาว" เราเองก็เชื่อว่าการกระทำของคนธรรมดา คนเล็กคนน้อย ก็สามารถกระเทือนถึงสังคมใหญ่ได้ หากเพียงแต่มิใช่การกระทำอย่างกระหายผลลัพธ์ แต่เป็นการกระทำเพื่อการขัดเกลา และฝึกฝนทำความเข้าใจตนเองต่างหาก

ขอให้สติและสันติอยู่ในใจทุกท่าน ค่ะ

-สุวัฒนา, ขวัญแผ่นดิน

----------------------------

- บทความ : เมื่อ พอ ก็ เป็น ไท โดย ณัฐฬส วังวิญญู --> อ่านที่นี่

----------------------------

- กิจกรรมของขวัญแผ่นดิน

- ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
---------------------

~ Quote of the Month ~

"การกระทำที่ใช้ความรุนแรงจะก่อให้เกิดความรุนแรงอีกมากมายตามมา
นี่คือเหตุผลว่าทำไมความเมตตากรุณาจึงเป็นหนทางเดียวที่จะลดความรุนแรงลง
และความเมตตามิใช่อะไรที่นุ่มนวลบอบบาง แต่เป็นสิ่งที่อาศัยความกล้าหาญต่างหาก"

โดย ติช นัท ฮันห์ (จากบทสัมภาษณ์หัวข้อ In Engaged Buddhism, Peace Begins with You, สัมภาษณ์โดย John Malkin, Shambhala Sun, July 2003)

เมื่อ พอ ก็ เป็น ไท


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2553

คำร้อง คำบ่น คำต่อว่าที่หนาหูทุกวันนี้คือ นักเรียนไม่สนใจจะเรียน อยากได้แต่เกรด พนักงานไม่อยากเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น เราจำต้องหาอุบายหลอกล่อให้คนเหล่านี้ เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คำถามคือจะทำได้อย่างไร ผมคิดว่าคำตอบอยู่ในตัวคนที่ถามมากกว่าอะไรอื่นทั้งหมด

ตอนนี้องค์กรจำนวนมากพยายามฟื้นฟูบรรยากาศการทำงาน ความสัมพันธ์ และความสุขในองค์กร เพราะประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาเชิงเทคนิควิธีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาเชิงจิตใจและความสัมพันธ์ของคนในองค์กรมากกว่า

การเปลี่ยนแปลงองค์กรโดยการปรับโครงสร้างใหม่พบกับความล้มเหลวถึงร้อยละ 60 - 70 ไม่ใช่เพราะยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ไม่ได้เรื่อง แต่การดูแลมิติด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ขาดความเข้าใจในธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนของมนุษย์ ทำให้ยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่ออกแบบมาดีด้วยความชำนาญการ ต้องไร้แรงขับเคลื่อนของผู้คนที่เต็มใจจะทำจริงๆ

ผมรู้สึกว่าเราไม่ค่อยให้คุณค่ากับหัวใจของมนุษย์อย่างที่ปากเราว่ากัน ถึงที่สุดแล้วเราสนใจเรื่องความสำเร็จหรือเป้าหมายขององค์กรมากกว่าเป้าหมายชีวิตของผู้คน
หรือเปล่า หากไม่ให้ใจ แล้วจะได้ใจได้อย่างไร ก่อนจะคาดหวังความร่วมไม้ร่วมมือจากผู้คน เราได้ให้ใจเราในการรับรู้สิ่งที่พวกเขาให้คุณค่า ให้ความสำคัญ กลัว รัก หรือปรารถนาอย่างแท้จริงหรือเปล่า

ชวนเพื่อนมาภาวนา


"ด้วยการแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความกรุณา
แปรเปลี่ยนความกรุณาให้เป็น
หัวใจสงบเย็น
แปรเปลี่ยนหัวใจสงบเย็นให้เ
ป็นผู้คนที่มีสันติภาพ
แปรเปลี่ยนผู้คนที่มีสันติภ
าพให้เป็นสังคมแห่งสันติ"

ท่ามกลางความรุ่มร้อนของวิกฤติการเมือง กลุ่มเพื่อนภาวนา (เฟซบุ๊คกลุ่ม) ขอเชิญทั้งหนุ่มทั้งสาว ทั้งอ่อนทั้งแก่ ทั้งที่มีศาสนาและไม่มีศาสนา มาร่วมเป็นหยดน้ำชุ่มเย็น ด้วยการภาวนา สร้างสันติภาวะภายในใจเราให้เกิดขึ้น โดยไปพบกันที่ :

บ้านเซเวียร์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - คลิกเพื่อดูแผนที่)
เวลา 17.30 – 18.30 น.
ทุกวัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
นุ้ก – ธีรัช พิริยะปัญญาพร 084-003-4536
หรือ อีเมล์ 
SiamBhavana@Gmail.com


[จดหมายข่าวผีเสื้อ : เมษา53] การงานที่สอดคล้องกับชีวิตเรา



ถ้าเราคอยแต่เงี่ยฟังแต่“สิ่งที่ควรทำ”ในชีวิตเป็นหลัก เราก็อาจตกอยู่ ในวงล้อมของเสียงของความคาดหวังจากภายนอกที่สามารถทำให้ความเป็นตัวเราและความสอดคล้องภายในบิดเบือนไป หากจะใช้การคิดคำนวณทางคุณธรรมแล้ว มันมีสิ่งที่เรา"ควร"จะทำมากมาย แต่นั่นคืออาชีพของเราหรือเปล่า แล้วเรามีพรสวรรค์หรือมีเสียงเรียกให้ทำมันหรือเปล่า? สิ่งที่ควรทำนั้น เป็นจุดบรรจบพอดีกันของความเป็นเรากับโลกภายนอกหรือไม่ หรือเป็นเพียงภาพลักษณ์ของคนอื่นที่เราคิดว่า "ควร"จะเอาเป็นแบบอย่างให้กับชีวิต?

เมื่อผมยอมทำตามสิ่งที่ “ควร” จะทำเท่านั้น ผมก็อาจจะพบว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นเรื่องที่ดี น่ายกย่องสรรเสริญ แต่กลับไม่ใช่เรื่องของผม การทำงานที่ไม่ใช่ของเรานั้นไม่ว่ามันจะได้รับคุณค่าจากโลกภายนอกเพียงใดก็ตามนั้น

เรื่องเล่าจาก "คุก"

"เรือนจำ" หรือ "คุก" สถานที่คุมขังผู้กระทำผิดกฎหมาย แน่นอนไม่มีใครอยากจะเข้าไป ขาดอิสรภาพในการดำเนินชีวิต หลายคนนึกถึงภาพอันตรายและน่ากลัว

อย่างไรก็ตาม เรือนจำเองต้องมีหน้าที่บำบัดเยียวยา เพื่อให้ผู้ต้องโทษเห็นและสำนึกของโทษที่เกิดจากการกระทำของตนเอง จะได้สำนึกผิดกลับตัว เมื่อพ้นโทษจะได้กลับคืนสู่สังคมเป็นพลเมืองดีต่อประเทศชาติ

มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันทำโครงการ "คุยกันด้วยหัวใจ" ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่าน "เครือข่ายพุทธิการ" ขออาสาเข้าไปร่วมทำกิจกรรมกับ "นักโทษ" ทั้งชายและหญิง ที่เรือนจำกลางนครปฐม
โดยหวังว่ากิจกรรมจะช่วยให้พวกเขาและเธอเหล่านั้น เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ตนเองมีอยู่ รวมทั้งการมองโลกในแง่ดี คิดดี ทำดี และมีความสุขเมื่อกลับออกไปสู่สังคมอีกครั้ง


ก่อนนำกิจกรรมและเรื่องราวภายในเรือนจำมาถ่ายทอดให้สังคมได้รับรู้ชีวิตอีกด้านใน "เรื่องเล่าจากเรือนจำ" ที่เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา พร้อมทั้งจัดนิทรรศการกิจกรรมฝีมือนักโทษ อาทิ "ภาพวาด" ที่สะท้อนและแสดงความรู้สึก และ "ต้นไม้ฝากความกังวล" ที่เขียนระบายความรู้สึกลงในใบไม้

ฟื้นคืนชีพให้กับการเปลี่ยนแปลงองค์กร

มาร์กาเรต วีทเล่ย์  ร่วมกับ  ไมรอน โรเจอร์ส เขียน
ณัฐฬส วังวิญญู แปล

ในช่วงทศวรรษ 1990 งานสำรวจหลายชิ้นได้รายงานผลความล้มเหลวหลายครั้งของความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์กร บรรดาซีอีโอตอบการสำรวจว่า ความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์กรจำนวนมากถึงร้อยละ 75 ไม่ให้ผลอย่างที่หวังไว้ ความพยายามเปลี่ยนแปลงนอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการแล้ว กลับยังสร้างผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆทุกครั้งไป ในที่สุดผู้นำต้องจัดการกับผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์มากกว่าผลงานที่ควรจะเกิดตามแผน แต่ก็ไม่เกิดขึ้นจริง

แทนที่ผู้นำจะได้เชยชมผลดีจากการปรับระบบการผลิต กลับต้องมาจัดการกับความเป็นปรปักษ์และสัมพันธภาพที่เสื่อมลงอันเกิดจากการปรับใหม่ หรือแทนที่จะภาคภูมิใจกับประสิทธิภาพที่ได้รับจากการปรับโครงสร้าง ผู้นำกลับพบว่าพนักงานที่เหลืออยู่กลายเป็นคนหมดไฟและขาดขวัญกำลังใจ และแทนที่ได้รับความชื่นชมจากราคาหุ้นที่สูงขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการ ผู้นำกลับต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อช่วยให้พนักงานทำงานด้วยกันได้อย่างสันติ มิใยต้องพูดถึงประสิทธิภาพการทำงานไว้ต่างหาก

อารยธรรมแห่งการอยู่ร่วม


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 16 มกราคม 2553

การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทางปัญญาที่มองเห็นความเชื่อมโยงและการพึ่งพิง อาศัยของข่ายใยชีวิต สำหรับคนในยุคปัจจุบันที่วิถีชีวิตมีความสะดวกสบายผ่านการใช้เงินตราและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็น เรื่องที่ท้าทาย ยิ่งการที่จะตระหนักว่าสังคมมนุษย์ยังคงพึ่งพาอาศัย “ธรรมชาติ” นั้น ดูจะห่างไกลจากสำนึก ประจำวันไปเสียทุกที เป็นแต่เพียงคำลอยๆ สวยๆ ที่นิยมใช้เพื่อชื่นชม “ธรรมชาติ” ราวกับเป็นเพียง เครื่องประดับจำเป็นที่จะต้องมีไว้เพื่อความครบถ้วนทางวาทกรรมเท่านั้น ยิ่งคำๆ นี้ดำรงอยู่เพียงในความคิด หรือคำพูด อย่างขาดการสัมผัสตรงเท่าไร “ธรรมชาติ” ก็เป็นแค่เพียงมายาคติที่ถูกโหยหาและกล่าวถึง แอบอ้างอย่างผิวเผิน

การตระหนักรู้ถึงธรรมชาติของชีวิตที่เชื่อมโยงพึ่งพิง จะเกิดขึ้นเมื่อเราได้สัมผัสตรงกับธรรมชาติ ในช่วงเวลาที่ยาวนานพอ และในภาวะการรับรู้ที่ละเอียดอ่อนมากพอแล้ว
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...