เรื่องเล่าจาก "คุก"

"เรือนจำ" หรือ "คุก" สถานที่คุมขังผู้กระทำผิดกฎหมาย แน่นอนไม่มีใครอยากจะเข้าไป ขาดอิสรภาพในการดำเนินชีวิต หลายคนนึกถึงภาพอันตรายและน่ากลัว

อย่างไรก็ตาม เรือนจำเองต้องมีหน้าที่บำบัดเยียวยา เพื่อให้ผู้ต้องโทษเห็นและสำนึกของโทษที่เกิดจากการกระทำของตนเอง จะได้สำนึกผิดกลับตัว เมื่อพ้นโทษจะได้กลับคืนสู่สังคมเป็นพลเมืองดีต่อประเทศชาติ

มีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกันทำโครงการ "คุยกันด้วยหัวใจ" ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่าน "เครือข่ายพุทธิการ" ขออาสาเข้าไปร่วมทำกิจกรรมกับ "นักโทษ" ทั้งชายและหญิง ที่เรือนจำกลางนครปฐม
โดยหวังว่ากิจกรรมจะช่วยให้พวกเขาและเธอเหล่านั้น เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ตนเองมีอยู่ รวมทั้งการมองโลกในแง่ดี คิดดี ทำดี และมีความสุขเมื่อกลับออกไปสู่สังคมอีกครั้ง


ก่อนนำกิจกรรมและเรื่องราวภายในเรือนจำมาถ่ายทอดให้สังคมได้รับรู้ชีวิตอีกด้านใน "เรื่องเล่าจากเรือนจำ" ที่เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา พร้อมทั้งจัดนิทรรศการกิจกรรมฝีมือนักโทษ อาทิ "ภาพวาด" ที่สะท้อนและแสดงความรู้สึก และ "ต้นไม้ฝากความกังวล" ที่เขียนระบายความรู้สึกลงในใบไม้

ฟื้นคืนชีพให้กับการเปลี่ยนแปลงองค์กร

มาร์กาเรต วีทเล่ย์  ร่วมกับ  ไมรอน โรเจอร์ส เขียน
ณัฐฬส วังวิญญู แปล

ในช่วงทศวรรษ 1990 งานสำรวจหลายชิ้นได้รายงานผลความล้มเหลวหลายครั้งของความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์กร บรรดาซีอีโอตอบการสำรวจว่า ความพยายามเปลี่ยนแปลงองค์กรจำนวนมากถึงร้อยละ 75 ไม่ให้ผลอย่างที่หวังไว้ ความพยายามเปลี่ยนแปลงนอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการแล้ว กลับยังสร้างผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆทุกครั้งไป ในที่สุดผู้นำต้องจัดการกับผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์มากกว่าผลงานที่ควรจะเกิดตามแผน แต่ก็ไม่เกิดขึ้นจริง

แทนที่ผู้นำจะได้เชยชมผลดีจากการปรับระบบการผลิต กลับต้องมาจัดการกับความเป็นปรปักษ์และสัมพันธภาพที่เสื่อมลงอันเกิดจากการปรับใหม่ หรือแทนที่จะภาคภูมิใจกับประสิทธิภาพที่ได้รับจากการปรับโครงสร้าง ผู้นำกลับพบว่าพนักงานที่เหลืออยู่กลายเป็นคนหมดไฟและขาดขวัญกำลังใจ และแทนที่ได้รับความชื่นชมจากราคาหุ้นที่สูงขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการ ผู้นำกลับต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อช่วยให้พนักงานทำงานด้วยกันได้อย่างสันติ มิใยต้องพูดถึงประสิทธิภาพการทำงานไว้ต่างหาก
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...