บทความที่ 110: โรงเรียนพ่อแม่...จิตแปรเปลี่ยนที่ฐานราก



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๑


ในปัจจุบัน ผู้นำองค์กรจำนวนมากต้องการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร พวกเขาทำงานหนัก ลงทุนทั้งเงินและเวลาในการกระตุ้น รณรงค์ กำหนดนโยบาย สร้างวิสัยทัศน์ วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ฝึกอบรมและจัดสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อให้เกิดภาวะผู้นำ ความสมัครสมานสามัคคี การมีส่วนร่วม ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและการให้บริการ ฯลฯ แต่แล้วมักพบว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นกลับไม่ได้เกิดขึ้นดังที่คาดหวัง จนหลายคนถึงกับคิดไปว่าผู้คนโดยมาก ถ้าไม่ใช่พวกที่ยอมรับแบบจำยอม ก็เป็นพวกที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง จึงจำต้องสร้างระบบควบคุมและโครงสร้างที่รัดกุม ตรวจสอบติดตามผลการทำงานให้แม่นยำและเด็ดขาดขึ้น ซึ่งยิ่งสร้างภาระงานและเพิ่มบรรยากาศของความเครียดความกดดัน อันเป็นผลให้เกิดภาวะการแข่งขัน หวาดระแวง และการเอาตัวรอดของชีวิตภายในองค์กรมากขึ้น

แต่หากเราย้อนกลับมาคิดและตั้งคำถามใหม่อีกครั้งถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ ว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง เราจะเห็นว่า
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...