แปล "รัก" ให้เป็น "ความ (เข้าใจ) "

“รัก” คำๆ นี้เป็นทั้งแหล่งของความสุขและทุกข์แสนสาหัส ความรักของทุกคู่มักเริ่มต้นด้วยความหวานชื่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป การอยู่ร่วมกันของคน 2 คนกลับไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต่างคนต่างมีความคาดหวังต่อกัน ต่างมีรู้สึกคับข้องใจในประเด็นต่างๆ มากมาย จึงง่ายที่จะกระทบกระทั่งหรือขัดแย้ง หากมากเข้าจากความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจกลายเป็นความรุนแรง และสุดท้ายก็ต้องเลิกรากันไป กัญญา ลิขนสุทธิ์ นักฝึกอบรมด้านการสื่อสารด้วยความกรุณา และ ณัฐฬส วังวิญญู นักฝึกอบรมด้านสุนทรียสนทนา ต่างเคยเผชิญกับเรื่องราวเหล่านี้และเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทุกคู่รักน่าจะได้เรียนรู้

“ความรักเนี่ยเป็นเรื่องนามธรรม แม้ทุกคนจะเข้าใจความหมาย แต่กลับแสดงออกไม่เหมือนกัน ทำให้เราตีความการกระทำและคำพูดของอีกฝ่ายไม่ออก หรือเข้าใจผิดไป คำถามคือ เราจะแปลความรักให้ตรงกันได้อย่างไร เราจะเลือกแปลจากคำพูดหรือการกระทำ และเราจะแปลความรักในใจเราให้เป็นคำพูดและการกระทำแบบไหนถึงจะทำให้เขาจะเข้าใจเราได้” ณัฐฬสกล่าว

ส่วนกัญญาคิดว่าความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษ เป็นการเดินทางทางจิตวิญญาณในอีกรูปแบบหนึ่ง “เวลาที่เรามีคู่ การเดินทางของเราจะเหมือนได้ติดเครื่องแรงๆ มีฟืน มีไฟ มีแรงส่ง มีแรงยึดเพิ่มมากขึ้น เพราะถ้าเราเดินทางคนเดียว เราอยากทำอะไรเราก็ทำ แต่เวลาที่มีคนอีกคนคนอยู่ด้วย เราต้องปรับ คุย และคิดถึงเขาคนนั้นอย่างใกล้ชิด ถ้าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราเห็นว่า ระหว่างการเดินทางด้วยกันมันมีอะไรเกิดขึ้น สิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยในการเดินทางครั้งนี้”

หลากเรื่องแปลรัก



เรื่องเล่าแปลรักเป็นความ (1) “กินข้าวไหม” & “อยากให้รู้ใจผม”


ผู้ชาย คนหนึ่ง เป็นคนทำงานรับผิดชอบงานดีมาก ทุกๆ วันหลังเลิกงาน เขาจะรีบกลับบ้าน พอถึงบ้าน ภรรยาก็ถามว่า “กินข้าวมาหรือยัง กินข้าวไหม”  เขารู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งที่ได้ยิน “ทำไมถึงถามอย่างนี้ ผมอุตส่าห์รีบกลับมา ผมก็ต้องกินข้าวกับคุณสิ ทั้งๆที่อยู่ด้วยกันมา ๑๕ ปี แท้ๆ ทำไมไม่รู้ใจกัน” พอมีเวลาได้ใคร่ครวญว่า ที่ภรรยาถามอย่างนี้ทำไม จริงๆแล้ว เธอไม่ใช่อยากรู้ว่าสามีกินข้าวหรือยังหรอก แต่เธออยากแสดงความห่วงไย เขาอาจแปลความหมายผิด พอคิดถึงใจของภรรยาที่เป็นแม่บ้าน อุตส่าห์ออกจากงานมาเลี้ยงดูลูก เธอคงจะเหงา ทุกวันรอให้ได้เจอหน้ากัน พอเจอหน้าก็เลยถามคำถามนี้ แต่เขากลับไม่เข้าใจ

ความรัก... ใยต้องแปล#2

แรงบันดาลใจของคอร์ส “แปลรักเป็นความ”

บทสัมภาษณ์​ อ.หลิ่ง (กัญญา ลิขนสุทธิ์)
text พรรัตน์ วชิรชัย




พี่คิดว่า ถ้าตอนแต่งงาน พี่มีเครื่องมือที่ช่วยให้พูดคุยกับอดีตสามีของพี่ได้ มันคงจะดีมากเลย อีกส่วนหนึ่งพี่เห็นว่า ความสัมพันธ์แบบคู่รักมันเป็นการเดินทางทางจิตวิญญาณ เวลาที่เรามีคู่ การเดินทางของเราจะเหมือนได้ติดเครื่องแรงๆ มีฟืน มีไฟ มีแรงส่ง แรงยึดเพิ่มขึ้น เพราะถ้าเราเดินทางคนเดียว เราทำอะไรก็ตามใจตัวเองได้ แต่เวลามีอีกคนอยู่ด้วย เราจำเป็นต้องปรับ ต้องคุย ต้องคิดถึงอีกคนอย่างใกล้ชิด เลยคิดว่าจริงๆ แล้วมันเป็นความสนุกของชีวิต แล้วถ้าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เรามองเห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น ก็น่าจะช่วยให้การเดินทางระหว่างคน 2 คน สื่อสารกันโดยมีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน

การ “เห็นว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น” สำคัญอย่างไร
ปรกติในชีวิตเรา เรามักไม่รู้สึกตัว การเห็นก็คือการรู้เท่าทันตัวเอง เรารู้สึกและตระหนักรู้ ทำให้การตัดสินใจของเราเป็น Conscious Choice เช่น เมื่อเช้าพี่กับหลานนั่งกินข้าวเช้าแบบบุฟเฟ่ต์ที่โรงแรมด้วยกัน เราก็เปรยขึ้นมาว่า เราไม่มีช้อนส้อม อยู่ๆ หลานก็วิ่งจากห้องกินข้าวไป ในใจเราก็เริ่มรู้สึกไม่ดีแล้ว อะไรเนี่ย วิ่งทำไม เดี๋ยวก็ชนคนอื่นหรอก

ความรัก... ใยต้องแปล#1



ที่มาของ “แปลรักเป็นความ”

บทสัมภาษณ์ อ.ณัฐ (ณัฐฬส วังวิญญู)
text พรรัตน์ วชิรชัย

ผมได้คุยกับพี่หลิ่งว่าเราอยากจะทำคอร์สที่เกี่ยวกับชีวิตคู่ เพราะเวลาที่ความสัมพันธ์ในชีวิตคู่มีปัญหา มีความคิดเห็นต่าง หลายๆคู่สื่อสารกันได้ยาก เราอยากจะเอาวิธีการของ “การสื่อสารอย่างสันติ” มารวมกับ “สุนทรียสนทนา” เพื่อชวนคนที่สนใจมาเรียนรู้เรื่องการสื่อสารในคู่รัก โดยตั้งชื่อการอบรมครั้งนี้ว่า “แปลรักเป็นความ”

ความรักเป็นเรื่องนามธรรมที่แม้ว่าทุกคนจะเข้าใจความหมายของมัน แต่ว่าแต่ละคนกลับแสดงความรักออกมาไม่เหมือนกันเลย ทำให้เราตีความ “การกระทำ” และ “คำพูด” ไม่เหมือนกัน และทำให้เข้าใจกันผิด

เราจะแปลความรักให้ตรงกันได้อย่างไร? เราจะแปลจากคำพูดหรือการกระทำของเขา? และเราจะแปลความรักในใจเราให้ออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำแบบไหนถึงจะทำให้เขาจะเข้าใจเราได้?

บางคนเลือกที่จะแสดงออกความรักด้วยการกระทำ ผ่านการซื้อของ ทำนั่นนู้นนี้ให้ แต่ไม่ชอบพูด แต่อีกคนอยากได้ยินคำพูด ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าอีกฝ่ายทำให้ด้วยความรัก แต่อยากได้รับการยืนยัน เป็นต้น เราจึงต้องมาฝึกแปลให้ความคิด การกระทำ และคำพูดของเราให้สอดคล้องกัน เพื่อที่เราจะเข้าใจกันมากขึ้น

ทำไมต้องจัดให้เฉพาะคู่รัก

เสียงสะท้อน "แปลรักเป็นความ" #1

จากส่วนหนึ่งของบทความในคอลัมน์ชื่อเดียวกันในนิตยสารสุขกายสบายใจ ฉบับที่ 1 /มีนาคม 2554 โดย ณัฐฬส วังวิญญู

การสื่ิอสารในชีวิตคู่และครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยหล่อเลี้ยงความรักให้มั่นคงและมีความสุข หลายคู่มีความมั่นคงในหน้าที่การงานและเศรษฐกิจ แต่กลับไม่พบความสุขในชีวิตรัก เรื่องที่พูดได้ยากแต่มีความสำคัญกับชีวิต ซึ่งมักจะเป็นเรื่องใกล้ๆ ตัว และอยู่ในชีวิต เช่น เรื่องเงินๆ ทองๆ เรื่องพ่อตาแม่ยาย เรื่องการเลี้ยงลูก เรื่องความใกล้ชิดและความต้องการทางเพศ

บ่อยครั้งที่ทางออกคือการเก็บไว้ ไม่สื่อสาร เพื่อลดความเสี่ยงในการกระทบกระทั่ง แต่ถ้าเป็ฯเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็อาจบั่นทอนความไว้วางใจและความสุขในชีวิตคู่ได้

เมื่อวันที่ 9 - 10 ตุลาคม 2553 สถาบันขวัญแผ่นดินได้จัดหลักสูตร “แปลรักเป็นความ”             (Love in Translation) เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้สำหรับคู่รักและครอบครัว เพื่อเป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้กลับมาทำความเข้าใจกับตัวเองและคนรักว่า แต่ละฝ่ายมีความรู้สึก ความต้องการ และการแสดงออกที่มีความหมายต่างๆ อย่างไร ทั้งยังเป็นการฝึก “การสื่อสารความในใจ” ที่เป็นเรื่องสื่อสารยากๆ ไม่ว่าจะผ่านการกระทำหรือการพูด

ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งที่ได้มาเข้าร่วมเรียนรู้ในหลักสูตรนี้ได้สะท้อนว่า
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...