คาเฟ่ สนทนา



โดย : เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ
Life Style : Life นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม 2552


ณัฐฬส วังวิญญู นักกิจกรรมเพื่อสังคม และวิทยากรอบรมกระบวนการเรียนรู้ สถาบันขวัญแผ่นดิน เล่าถึงวงสนทนาง่ายๆ ที่คนในสังคมไทยอาจมองข้าม

ดื่มคาปูชิโนอุ่นๆ พร้อมเรื่องเล่าจากหัวใจในคาเฟ่เล็กๆ ของคุณย่าวัย 83 ปีในซานฟรานซิสโก อเมริกา เธอให้โอกาสคนที่แวะเวียนผ่านมาดื่มกาแฟ นั่งคุยเปิดพื้นที่ของหัวใจทุกวันอาทิตย์...

ณัฐฬส วังวิญญู นักกิจกรรมเพื่อสังคม และวิทยากรอบรมกระบวนการเรียนรู้ สถาบันขวัญแผ่นดิน เล่าถึงวงสนทนาง่ายๆ ที่คนในสังคมไทยอาจมองข้าม เพราะการพูดคุยลักษณะนี้เป็นการเรียนรู้การฟังกันอย่างลึกซึ้งและเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่นและตัวเอง

“คุณรู้ไหม คาเฟ่บางแห่งในอเมริกาทำแบบนี้ คุณย่าเจ้าของร้านกาแฟที่ผมเล่าให้ฟัง เชิญให้ทุกคนที่เข้ามาวันอาทิตย์นั่งลง ดื่มกาแฟ แนะนำตัว มีป้ายวางบนโต๊ะว่า หนึ่ง...เราจะฟังกันอย่างลึกซึ้ง สอง...เราจะไม่ด่วนตัดสิน สาม...เราจะพูดเยิ่นเย้อกินพื้นที่ สี่...เราจะสนใจเรื่องที่พูดและรู้สึกต่อเรื่องนั้นจริงๆ” ณัฐฬส เล่าและมีเพื่อนที่ผ่านมาขอร่วมวงสุนทรียสนทนาในการสัมภาษณ์ด้วย เธอบอกว่า ทุกวันนี้มีคลับหรือชมรมเยอะขึ้น หรือการไปแดนซ์กลางคืน เพราะเราต้องการสังคม แต่เราไปยึดอย่างอื่นที่ไม่ใช่ด้านในตัวเอง

วิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2552

ในระยะหลังมานี้ ผู้เขียนเฝ้าสังเกตกระบวนการเรียนรู้และการปรับตัวขององค์กรต่างๆ ที่ไปให้คำปรึกษา และฝึกอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ซึ่งปัจจุบันจะพยายามทุกทางในการหาวิธีการและแรงจูงใจให้คนในองค์กรเกิดการ เรียนรู้ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขมากขึ้น ในทำนองที่ว่า “งานได้ผล คนเป็นสุข” โดยมีแนวโน้มอย่างหนึ่งคือ การเพิ่มระดับ “การมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์” ในการแสดงความคิดเห็นและการกระทำในระดับต่างๆ มากขึ้น

นั่นเป็นเพราะโดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์ทุกคนมีสมองส่วนหน้าในการ “คิดวิเคราะห์และจินตนาการ” และปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการ “เลือกหรือกำหนด” การกระทำที่จะส่งผลต่อตัวเอง หลายองค์กรจึงพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของหัวหน้างานจากการสั่งการและ ควบคุม มาเป็นการปรึกษาหารือร่วมกับลูกน้อง เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ให้คุณค่ากับความคิดความรู้ของผู้ปฏิบัติงานมากกว่าการเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ของสายพานการผลิตความสำเร็จเท่านั้น

บทความที่ 159: ดุลยภาพในสัมพันธภาพ



โดย ณัฐฬส วังวิญญู 

คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒



เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ ๖-๗ มิ.ย.๕๒ ที่ผ่านมา เสมสิกขาลัยที่ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางเลือกของบ้านเราได้จัดคอร์สเรียนรู้เรื่อง “ดุลยภาพในสัมพันธภาพ” ขึ้น ผู้เขียนเลยได้กลับไปเยี่ยมสถานที่จัด คือ เรือนร้อยฉนำ (สวนเงินมีมา) อีกครั้ง หลังจากหายหน้าหายตาไปนาน ทุกครั้งที่ไปที่นั่นจะรู้สึกเหมือนได้กลับบ้าน เพราะได้พบปะกับผู้คนคุ้นเคยกัน ที่นั่นเป็นสถานที่สำหรับผู้ประกอบการทางสังคมที่คิดฝันและลงมือสร้างสิ่ง ดีๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย และคนเหล่านี้ล้วนเป็นคนหนุ่มสาวที่กำลังใช้ชีวิตในการให้มากกว่าการกอบโกย เพื่อเติมเต็มความหมายและคุณค่าให้กับโลกใบนี้ได้อย่างน่าทึ่ง อย่างน้อยก็ช่วยให้สังคมยังมีข่ายใยชีวิตที่แบ่งปัน แลกเปลี่ยนและเรียนรู้อย่างนี้

แม้ว่าสถานที่จะอยู่ในตรอกเล็กๆ แถวคลองสาน ซึ่งอาจหายากสักนิดสำหรับผู้ที่ไม่เคยไป แต่หากได้ไปสักครั้งอาจทำให้รู้สึกว่าได้ค้นพบโอเอซิส หรือแอ่งธารแห่งน้ำใจอีกแห่ง มีร้านหนังสือและร้านกาแฟเล็กๆ เปิดทำการแทบทุกวัน ห้องสมุดบนชั้นสองก็มีหนังสือดีๆ ที่คัดสรรมาไว้ให้หยิบยืมอ่าน วันไหนที่มีรายการอบรมหรือเสวนาก็อาจมีหนังทางเลือกมาขายโดยผู้ขายเจ้าประจำ ของที่นั่น และที่สำคัญการได้พบปะแลกเปลี่ยนกับผู้คนที่ทำงานในโครงการต่างๆ ภายใต้มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปช่วยให้สัมผัสได้ถึงความเป็นมิตรและแรง บันดาลใจในการสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมให้ดีงามตามกำลังของตน โดยทั้งหมดนี้ริเริ่มมาได้ด้วยแรงบันดาลใจและวิสัยทัศน์ของ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผู้ช่วยหล่อเลี้ยงให้ข่ายใยชีวิตนี้ได้ขยายตัวไปพร้อมกับกิจกรรมทางสังคมที่ กระตุ้นเตือนและสร้างความเป็นธรรม รวมทั้งปลุกให้เราต่างดำรงชีวิตอย่างมีสติและไม่เบียดเบียนกันและกัน ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องที่จัด

เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร (ยกเว้นตัวเอง)


 โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2552

ผมขอถอดความจากข้อเขียนของ ปีเตอร์ เซ็งกี้ (Peter Senge) เรื่อง “เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง” ว่า “หลังจากได้เฝ้าติดตามผลจากหนังสืออย่าง การเรียนรู้ในระดับองค์กร ของ อาร์กิริสและฌอน ในเรื่องการจัดการ ทำให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเลย นี่เป็นหนังสือแห่งประวิติศาสตร์เล่มหนึ่ง เรื่ององค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นเรื่องที่กว้างและมีหลายชั้น การที่จะพลิกวิธีคิดและสร้างผลอย่างเป็นรูปธรรมในการจัดการต้องใช้เวลาพอควร ดังนั้นการบอกว่าผลลัพธ์จะเกิดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่งนั้น นับว่าเป็นความเขลา ...ผมคิดว่าการประเมินผลในเรื่องนี้จำต้องใช้กรอบเวลาหลายชั่วรุ่น ดังนั้นตอนนี้ยังถือว่าเร็วไปที่จะมีข้อสรุปในเชิงการฝึกปฏิบัติ”

ข้อคิดเห็นตรงนี้ ทำให้หลายคนรู้สึกได้ ๒ อย่าง คือ “ร้อนใจ” ที่จะต้องใช้เวลามากมายถึง ๓ ชั่วรุ่นในการสร้างองค์กรสายพันธุ์ใหม่ หรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงบ่มเพาะมนุษย์ให้งอกงามและพัฒนาได้จริงๆ แต่หากมองอีกแง่หนึ่ง ก็อาจทำให้หลายคนรู้สึก “วางใจ” ลงได้บ้าง และทำงานนี้ไปอย่างไม่ต้องรีบเร่งหรือร้อนรน เรียนรู้กับกระบวนการที่เกิดขึ้น แทนที่จะประหม่าวิตกว่า “ผลลัพธ์” จะออกมาอย่างไร

รอยย่ำโบราณ … บนเส้นทางสู่อนาคต

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 14 มีนาคม 2552

งาน แจมโลก (World Jam) ที่กำลังจะจัดขึ้นในปีหน้าเป็นโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่หมายมั่นชีวิตตัวเองกับ การรับใช้สังคมจากมุมต่างๆ ของโลกได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเติมเต็มแรงบันดาลใจให้กันและกัน ผมมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นชาวเมารี ชื่อว่า คีรีทาปู อาลัน เป็นสตรีชาวนิวซีแลนด์ วัย ๒๕ ปี เธอสืบเชื้อสายของคนเมารีและชาวผิวขาว และอยู่ในขบวนการนักศึกษาหัวก้าวหน้าที่พยายามรื้อฟื้นรากของความเป็นเมารี หรือชนเผ่าดั้งเดิมของนิวซีแลนด์ให้กลับมาสู่วิถีชีวิต

เธอเล่าให้ฟังว่าหนทางชีวิตของเธอนั้นแปลก เพราะช่วงที่เป็นวัยรุ่น ความฝันของเธอคือการได้เป็นทหารเพื่อรับใช้ประเทศชาติ และปกป้องสังคมที่เธอรักจากภัยคุกคามภายนอก เหตุผลอีกอย่างที่มากไปกว่าอุดมคติที่ว่ามานี้ก็คือ เธอเป็นคนชอบใช้ชีวิตกระฉับกระเฉงในฐานของร่างกาย เธอชอบวิ่งและออกกำลังกาย และจะมีอาชีพใดอีกเล่าที่พร้อมจะจ่ายเงินค่าออกกำลังกายให้เธอ นอกจากการเป็นทหาร แต่แล้วโชคชะตาของคีรีก็ไม่เอื้ออำนวยเอาเสียเลย เพราะเธอกลับต้องประสบอุบัติเหตุเข่าหลุดจากการเล่นรักบี้ ความฝันที่จะเป็นทหารของเธอจึงต้องเก็บพับไปเสีย และแม้ว่าเธอจะไม่ยอมแพ้ พยายามสมัครให้ได้รับการเกณฑ์ทหารอีกครั้ง แต่ก็ต้องพบอุบัติเหตุอีกอย่างน่าเสียดาย

แอ่งน้ำใจแห่งการรับฟัง

 โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2552

การ ชุมนุมของชาวดีโอ หรือ Dialogue Oasis ครั้งที่ ๓ ที่บ้านพักคริสเตียน ถ.คอนแวนต์ ซ.ศาลาแดง ๒ เกิดขึ้นด้วยผู้คน ๒๑ ชีวิตที่พร้อมรับฟังและเรียนรู้จากกันและกัน ทำให้ตาน้ำแห่งมิตรภาพในเมืองกรุงนี้ผุดเผยเติมเต็มช่วงเวลาดีๆ ให้กับชีวิต โดยส่วนมากเป็นผู้คนที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Dialogue มา หรือไม่ก็สนใจที่จะมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านการบอกเล่าบอกต่อ หรือผ่านเว็บไซต์วงน้ำชา (www.wongnamcha.com) หลายคนอยู่ในแวดวงของการเรียนรู้ด้านในที่เป็นการแสวงหาพื้นที่เปิดแบบนี้ใน การตอกย้ำการฝึกฝน บางคนได้เข้าเรียนรู้กับเสมสิกขาลัยเป็นช่วงๆ ในหลักสูตรต่างๆ ที่หลากหลาย บ้างก็ได้เข้าปฏิบัติการฝึกตนกับคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาอย่าง วิจักขณ์ พานิช ครึ่งหนึ่งเป็นคนทำงานประจำที่แสวงหาชีวิตที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์การ เปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงสัมพันธ์และเกิดการเรียนรู้จากกันและกัน บ้างก็เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ของพวกเขาได้ช่วยให้เขาได้สัมผัสและเกิดแรงบันดาลใจผ่านกระบวนการ สนทนาแนวลึก จนได้มาเดินอยู่บนเส้นทางของการเรียนรู้และชีวิตที่มีความหมาย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...