ผีเสื้อเดือนมีนา : ทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

(ฉบับเดือน มี.ค. 54 Vol. 1/2011)
“ทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง”
โดย ณัฐฬส วังวิญญู

ในช่วง ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา ปีเตอร์ เซ็งกี้ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สถาบันเอ็มไอที ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายแนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้จนแพร่หลายไปทั่วโลก ผ่านหนังสือของเขาชื่อ The Fifth Discipline โดยนำเสนอแนวคิดในการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ ร่วมกันภายในองค์กรให้กลับมามีชีวิตและเชื่อมสัมพันธ์กันอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเจริญก้าวหน้า พัฒนาและเติบโตต่อไปในสภาพเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปได้

มุมมองของเซ็งกี้ท้าทายแนวคิดการบริหารจัดการแบบเดิมที่มององค์กรเป็นเครื่องจักรกลไก ที่เน้นการทำงานแยกส่วน และมองบุคลากรเป็นเพียง “ชิ้นส่วน” หนึ่งขององค์กร หรือเป็นเพียง ทรัพยากรที่ปรับเปลี่ยนทดแทนได้ คำสั่งและการควบคุมด้วยระบบที่ชัดเจนจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ในขณะที่เซ็งกี้เน้นความสำคัญที่การพัฒนาการเรียนรู้ใน ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถเป็นนายเหนือตัวเอง (Personal Mastery) (อ่านต่อ)

---------------------------

:: Upcoming : กิจกรรมที่กำลังจะมาถึง ::

1. วันชุมชนปฏิบัติครั้งที่ 3 : การเดินทางของไอ้เบื๊อก


วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 54 (9.30 - 16.00 น.)

ณ SmoodToo พญาไทพลาซ่า (Bts พญาไท);

อาสานำกระบวนการโดย : สมพร ครูกส์ (น้าส้ม)

“ฝึกฝนญาณทัศนะ (Intuition) ของตน เพื่อเปิดสนามพลังของการเข้าใจตัวเอง เข้าใจ สถานการณ์ และการเผชิญหน้าอย่างอ่อนน้อม ทว่าเข้มแข็งแบบไอ้เบื๊อก (The Fool’s energy)”

ทักษะเพื่อการเปลี่ยนแปลง

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554


ในช่วง ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา ปีเตอร์ เซ็งกี้ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สถาบันเอ็มไอที ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายแนวคิดเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้จนแพร่หลายไปทั่วโลก ผ่านหนังสือของเขาชื่อ The Fifth Discipline โดยนำเสนอแนวคิดในการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ ร่วมกันภายในองค์กรให้กลับมามีชีวิตและเชื่อมสัมพันธ์กันอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเจริญก้าวหน้า พัฒนาและเติบโตต่อไปในสภาพเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปได้

มุมมองของเซ็งกี้ท้าทายแนวคิดการบริหารจัดการแบบเดิมที่มององค์กรเป็นเครื่องจักรกลไก ที่เน้นการทำงานแยกส่วน และมองบุคลากรเป็นเพียง “ชิ้นส่วน” หนึ่งขององค์กร หรือเป็นเพียง ทรัพยากรที่ปรับเปลี่ยนทดแทนได้ คำสั่งและการควบคุมด้วยระบบที่ชัดเจนจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดี ในขณะที่เซ็งกี้เน้นความสำคัญที่การพัฒนาการเรียนรู้ใน ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถเป็นนายเหนือตัวเอง (Personal Mastery) การสร้างแบบจำลองความจริง (Mental Model) การเรียนรู้อย่างเป็นทีม (Team Learning) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) และวิธีคิดเชิงระบบ (System Thinking) ทั้งนี้จุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือการเปิดใจเรียนรู้ของคนในองค์กร เพราะหากผู้คนไม่ยอมเรียนรู้หรือปรับตัว องค์กรก็ไม่สามารถเรียนรู้และปรับตัวหรือพัฒนาต่อได้
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...