บทความที่ 127: ชีวิตผลิบาน



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑


วันก่อนเพื่อนคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าได้ไปเข้ากระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับ “การเตรียมตัวตายอย่างมีสติ” ที่จัดขึ้นโดยเสมสิกขาลัย โดยมี พระไพศาล วิสาโล เป็นพระอาจารย์ ที่นำพาให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความเปราะบางของชีวิต และธรรมชาติแห่งการเปลี่ยนแปลงของชีวิตนั้นว่ามีพลังอย่างยิ่ง ในยุคที่วิทยาศาสตร์และวงการแพทย์เริ่มยอมรับวาระแห่งความตายว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมากขึ้น โดยที่ไม่มีใครสามารถหยุดรั้งชีวิตที่จะพลัดร่วงจากไปในวาระที่เหมาะสมได้ การเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีสติ กำลังเป็นประเด็นสำคัญต่อการเรียนรู้ของสังคม ในการปรับท่าทีในการดำรงอยู่กับความทุกข์ และส่งเสริมให้เกิดความสง่างาม ความหมายและสันติภาพในการจากไปของผู้คนดูจะเป็นวิถีทางที่เราจะตื่นรู้ได้อีกทางหนึ่งในการยอมรับ “ธรรมชาติของชีวิต”

ถ้าเปรียบการตายคือการผลัดใบ การเกิดก็อาจเปรียบได้ดังการผลิบานของชีวิต ในช่วงที่ผ่านมา ผมเองก็ได้มีประสบการณ์ในกับกระบวนการเกิดของลูกสาวคนแรก ซึ่งตอนแรกผมเองก็ไม่ได้คิดว่า การได้เป็นประจักษ์พยานการเกิดจะสร้างความสั่นสะเทือนให้กับการรับรู้ชีวิตของผมได้มากถึงเพียงนี้ ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าคนอื่นๆ ที่ได้รับรู้ประสบการณ์ของการเกิดจะได้รู้สึกหรือนึกคิดคล้ายกันหรือไม่ เพราะแต่ละคนย่อมมีการตีความประสบการณ์ที่ตนได้รับต่างกันไปเป็นธรรมดา

บทความที่ 110: โรงเรียนพ่อแม่...จิตแปรเปลี่ยนที่ฐานราก



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๑


ในปัจจุบัน ผู้นำองค์กรจำนวนมากต้องการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร พวกเขาทำงานหนัก ลงทุนทั้งเงินและเวลาในการกระตุ้น รณรงค์ กำหนดนโยบาย สร้างวิสัยทัศน์ วางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ฝึกอบรมและจัดสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม เพื่อให้เกิดภาวะผู้นำ ความสมัครสมานสามัคคี การมีส่วนร่วม ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีการจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนสร้างนวัตกรรมทางการผลิตและการให้บริการ ฯลฯ แต่แล้วมักพบว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นกลับไม่ได้เกิดขึ้นดังที่คาดหวัง จนหลายคนถึงกับคิดไปว่าผู้คนโดยมาก ถ้าไม่ใช่พวกที่ยอมรับแบบจำยอม ก็เป็นพวกที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง จึงจำต้องสร้างระบบควบคุมและโครงสร้างที่รัดกุม ตรวจสอบติดตามผลการทำงานให้แม่นยำและเด็ดขาดขึ้น ซึ่งยิ่งสร้างภาระงานและเพิ่มบรรยากาศของความเครียดความกดดัน อันเป็นผลให้เกิดภาวะการแข่งขัน หวาดระแวง และการเอาตัวรอดของชีวิตภายในองค์กรมากขึ้น

แต่หากเราย้อนกลับมาคิดและตั้งคำถามใหม่อีกครั้งถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ ว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง เราจะเห็นว่า

บทความที่ 57: ผู้นำสติ (แตก)


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้ โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑


ภาวะอารมณ์ของผู้นำส่งผลต่ออารมณ์ขององค์กร หรือบรรยากาศการทำงาน หรือสนามพลังทางสังคม (social field) ที่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้คนมากกว่าที่คิดกัน มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอิทธิพลของอารมณ์มากกว่าความคิดถึง ๒๔ ต่อ ๑ ส่วนเลยทีเดียว แม้ว่าเราจะพยายามอ้างอิงหลักการเหตุผลหรือหลักคิดมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอิทธิพลที่อารมณ์มีต่อเราได้ ดังนั้น เราอาจถือได้ว่า อารมณ์ขององค์กรมีผลต่อระดับจิตใต้สำนึกของผู้คนไม่น้อยทีเดียว ก็เมื่อมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรที่จะแสดงผลหรือเปิดปิดตามใจชอบของเจ้านาย แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการสภาพบรรยากาศที่เหมาะสมในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ ไม่หวาดระแวงหรือวิตกกังวล องค์กรที่เห็นเช่นนี้ย่อมพยายามส่งเสริมพลัง หรืออารมณ์เชิงบวกในการริเริ่มและแสดงออกถึงศักยภาพภายใน

องค์กรที่มีชีวิตจะดำเนินไปในภาวะอารมณ์ ๒ ภาวะ คือ ปกติ หรือ ปกป้อง การเยียวยาองค์กรคือการช่วยเหลือให้องค์กรนั้นกลับมารู้เนื้อรู้ตัว และรู้จักตัวเอง ว่าอยู่ในสภาวะไหน แบบแผนพฤติกรรมอันเกิดขึ้นและดำเนินมาจากอดีตสู่ปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นแบบไหน เป็นสิ่งที่จำยอมหรือเป็นทางเลือกที่องค์กรได้เลือกแล้ว ประสบการณ์การทำงานกับโครงการพัฒนาองค์กรในรูปแบบหรือภายใต้ชื่อต่างๆ ทำให้เราเห็นว่า
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...