ร่างแห่งเรา เงาแห่งตน



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2553

มีคำกล่าวที่คุ้นหูว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” น่าตั้งคำถามว่า “จริงหรือ?”

เราอาจตีความคำกล่าวนี้ได้ว่า เราควบคุมร่างกายและอารมณ์ของเราเองได้หากเรา “ควบคุม” จิตใจหรือความคิด-ความรู้สึกเราได้ แต่เคยสังเกตไหมครับว่า ความคิดเห็นของเราได้รับอิทธิพลจากอารมณ์และสภาวะของร่างกายมากน้อยเพียงใด จริงๆแล้วกายและจิตเป็นคู่แฝดที่พึ่งพาอาศัยกันอย่างเท่าเทียม และในทางประสบการณ์นั้น กายเป็นนายจิตเสียเป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่ว่า “เรา” หรือการรับรู้ถึงการมีอยู่ของ “ตัวเรา” นั้นดำรงอยู่ใน “จิต” ดังนั้น คำกล่าวนี้จึงเป็นเสียงที่มาจากฝั่งของ “จิต” ที่อยากเป็นนาย ที่เป็นอิสระจาก “กาย” และอยากเป็นฝ่ายที่สามารถควบคุมทิศทางของชีวิตมากกว่า ทัศนะแบ่งแยกทางความคิดอย่างนี้มีมานานทั้งในโลกของศาสนาและวิทยาศาสตร์ที่ประกาศอำนาจของฝั่งจิตเหนือกาย มนุษย์เหนือธรณีและธรรมชาติ บ้างก็ถึงกับมองร่างกายว่าเป็นความสกปรกและมีความเป็นสัตว์ที่เต็มไปด้วย ความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด

ในบรรดาวิชาความรู้เพื่อการเข้าใจตัวเองและธรรมชาติของชีวิต (Contemplative Education) ที่บ้านเรามีคำเรียกว่าจิตตปัญญาศึกษานั้น การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของร่างกายและอารมณ์นั้น กำลังเป็นเรื่องที่น่าจับตามอง ด้วยสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความเจ็บป่วยทางกายและจิตที่เป็นผลมาจากสภาพ ชีวิตที่เร่งรีบบีบคั้น และความไม่สามารถจัดการภาวะภายในของตนเองได้ แนวทางออกที่หลอมรวมวิถีแห่งสติและจิตวิทยาสมัยใหม่ หรือแม้แต่กระบวนการเยียวยากายจิตแบบดั้งเดิมของชนเผ่า ก็ดูเหมือนจะกลับมาสมสมัยอีกครั้ง

เสียงสะท้อนจาก 'กายกรุณา'


โดย ณัฐฬส วังวิญญู
ผมเริ่มชอบคอร์ส กายกรุณา ตั้งแต่เห็นคำประกาศของพื้นที่ฝึกที่เรียกว่า “โดโจ” แล้ว เพราะเป็นประกาศที่เปิดโอกาสกับการฝึกฝนสู่ความเป็นเลิศที่เปิดรับความผิดพลาดทั้งมวล โดยไม่ถือว่าอะไรผิดหรือถูก แต่เพื่อให้เกิดการแสดงออกอย่างเต็มที่ ปลอดภัยสำหรับทุกคน

สิ่งที่เราสื่อสาร 7% ผ่านคำพูด 93% เป็นสิ่งที่เราแสดงออก ได้แก่ 53% ผ่านน้ำเสียง อีก 40% ผ่านกิริยาหรืออาการทางกาย และส่วนใหญ่ที่ผ่านทางกายเป็นไปตามการเรียนรู้ (ที่ได้รับการถูกสอน) แบบเดิมๆ โดยเฉพาะในภาวะปกป้อง เพราะสมองส่วนที่เป็นสัญชาตญาณ กระทำการอย่างรวดเร็วอย่างไม่ต้องพึ่งพา “ความตั้งใจ” หรือ “สติ” อะไรของเจ้าตัวเลย

ครูเดวิดให้ลองยื่นหมัดให้ชิดหน้าของบางคน สิ่งที่คนนั้นตอบสนองคือการยื่นหมัดดันกลับ เป็นต้น หรือเวลาที่เดวิดให้เราแต่ละคนได้เช็คอินว่าอะไรที่ทำให้เรามาเรียนรู้คอร์สนี้ และเป็นเพราะเราแคร์อะไร หรือให้คุณค่าหรือความ

Informal Dialogue



มาการ์เร็ต วีทเล่ย์บอกว่า

คนที่มีความเครียดจะสูญเสียความสามารถในการมองเห็นแบบแผนของปรากฎการณ์ และไม่สามารถมองเห็นภาพที่ใหญ่ขึ้น และเมื่อคนถูกถมทับด้วยงานอันท่วมท้น พวกเขาไม่มีเวลาหรือความสนใจที่จะมองให้ไกลไปกว่าสิ่งที่พวกเขาต้องทำในแต่ละสถานการณ์ ดังนั้น มันจึงสำคัญที่องค์กรจะต้องมีกระบวนการนำพาคนให้ได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้มุมมองและความท้าทายที่แต่ละคนกำลังประสบ ถ้าองค์กรไม่เอื้อให้กระบวนการนี้เกิดขึ้น คนจะละห่างจากกันและกลับไปหาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ การถดถอยกลับไปหาตัวเองมีผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน คนจะถูกงานท่วมตัว พวกเขาสูญเสียความรู้สึกที่เขามีความหมายต่องาน และรู้สึกว่าถูกตัดขาดจากผู้อื่นและอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนยุ่งมากขึ้นและวิตกกังวลมากขึ้น แต่สิ่งที่พวกเขาผลิตทำกลับเพิ่มความเครียดยิ่งขึ้น เมื่อผู้คนสูญเสียการรับรู้ถึงบริบทที่กว้างออกไปของการทำงาน ผลเสียที่ร้ายแรงอื่นคือระดับสติปัญญาของทั้งพนักงานและองค์กรโดยรวมลดลงอย่างมาก
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...