ผ่าตัดโรงเรียน

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2555


ภาพโดย Gokoroko
          เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสทำงานกับโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งในเชียงราย บรรยากาศตอนแรกที่ได้เข้าไป ผมสัมผัสได้ว่าทั้งครูและพนักงานต่างรู้สึกท้อแท้ กังวล และหวาดระแวง ไม่มีใครกล้าพูดอย่างเปิดเผย ความเงียบงำทำให้วงประชุมดูอึมครึม เก็บกดมากกว่าผ่อนคลาย ทั้งๆ ที่ในอดีตโรงเรียนแห่งนี้มีบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุข ทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างแข็งขัน ทั้งเด็กนักเรียนและผู้ปกครองต่างรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ แต่มีบางอย่างเกิดขึ้นราวกับโรคระบาดในชุมชนแห่งนี้ จนทำให้เกิดอาการต่างคนต่างอยู่ และทำงานไปวันๆ หลีกเลี่ยงที่จะสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา แม้แต่ในกลุ่มผู้ปกครองเองก็ได้รับโรคนี้ไปด้วย แบ่งเป็นพรรคเป็นพวก เกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินงานของโรงเรียน หลายคนตัดสินใจพาลูกออกไปหาที่เรียนใหม่ จำนวนนักเรียนตกฮวบเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ครูและคนทำงานสนับสนุนต่างเสียขวัญและกำลังใจในการทำงาน 

          ครั้งแรกที่ผมเข้าไปจัดประชุมเพื่อเปิดพื้นที่รับฟังเสียงของทุกคนในโรงเรียน ก็สังเกตเห็นจากสีหน้าท่าทางของผู้คนที่แสดงออกถึงความรู้สึกที่หลากหลาย มีทั้งรู้สึกหวาดระแวง ไม่ปลอดภัย และไม่อยากพูดอะไร เพราะคิดว่า “พูดไปก็เท่านั้น ไม่มีอะไรดีขึ้น เปลืองเนื้อเปลืองตัว เสียเปล่า” หรือไม่ก็เป็นความรู้สึกโกรธที่ไม่ได้รับการดูแลและใส่ใจให้คุณค่าจากผู้บริหาร หลายคนพูดถึงความห่วงใยที่มีต่อเด็กๆ และผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และกังวลว่าอนาคตของโรงเรียนและตัวเองที่ดูง่อนแง่นไม่มั่นคงจะดำเนินไปอย่างไร

          การเปิดวงสนทนาเพื่อนำเองความในใจจากมุมมืดทั้งหลายออกมาสู่ที่แจ้งจากการพูดคุยถึง “คนอื่น” ในกลุ่มย่อยมาสู่ “พื้นที่ร่วม” กันนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก ไม่มีใครสามารถบังคับและกะเกณฑ์ให้ใครต้องพูดได้

การสืบค้นของคนขี้สงสัย ตอนที่ 2: เส้นทางเดินของผู้กล้า


ภาพโดย Janthip Piyaworlathum

          ในการแสวงหาเส้นทางเดินแห่งจิตวิญญาณ เราแต่ละคนล้วนมีเส้นทางของตัวเอง แม้ว่าศาสนาหรือผู้รู้จะได้แสดงให้เห็นว่าเส้นทางที่มีศาสดาทั้งหลายเดินมาก่อนหน้าเป็นอย่างไร และแม้เราจะยอมเดินตามด้วยความเคารพและจริงใจเพียงใด ภารกิจของเรา คือการแสวงหาด้วยตัวเราเอง เพื่อที่จะได้รู้อย่างประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง และนั่นอาจหมายถึงการลองเป็นตัวของตัวเอง ที่เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาและตัดสินโดยผู้คนในสังคม  จึงจำต้องอาศัยความกล้าหาญ และกำลังใจอย่างยิ่ง  และเมื่อเราค้นพบศักยภาพของที่เป็นดังขุมทรัพย์ภายในตัวเองได้ เราจะตอบแทนสังคมได้อย่างสมภาคภูมิ

          ผมขอยกงานเขียนของโจเซฟ แคมเบล นักตำนานวิทยาผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับการ แสวงหาทาง จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย จากหนังสือ A Joseph Cambell Companion: Reflection of the Art of Living ที่เหมือนกับกลั่นกรองและสะกัดมาจากความเข้าใจในการแสวงหาของมนุษย์ที่เขาสั่งสมมาหลายสิบปี

          อภิสิทธิ์อันสูงสุดของการมีชีวิตที่เราได้รับ อยู่คือการได้เป็นสิ่งที่เราเป็นไม่ว่าคุณจะทำอะไร ก็ตาม จงทำมันราวกับเล่นชีวิตนั้นหามีความหมายใดๆ คุณนำความหมายมาใส่ให้ชีวิต ดังนั้น ความหมาย ของชีวิตก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความหมายมันอย่างไร ความหมายของชีวิตก็คือการมีชีวิตอยู่ 

การแสงหาของคนขี้สงสัย ตอนที่ 1


การแสวงหาของคนขี้สงสัย ตอนที่ 1


สิบปีที่ผ่านมา ผมทำงานด้านการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการดูแลจิตใจของ คนในองค์กร ต่างๆ  บนพื้นฐานของการฝึกสติและการรับฟังเชิงลึก เพื่อสร้างความเข้าใจ แก้ไขความขัดแย้ง ให้กับกลุ่มคนและองค์กรต่างๆ ได้เกิดเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง ส่งผลเป็นเกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต ทั้งในด้านทัศนคติและพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น ดังที่มีคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งเกิดแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้และฝึกฝนตัวเองในการทำงานด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคม

มีคนถามผม อยู่เรื่อยๆ ว่า ผมมาทำงานด้านนี้ที่ส่งผลต่อผู้คนในวงกว้างได้อย่างไร อะไรเป็นแรงบันดาลใจ หรือจุดพลิกผันในชีวิต ทำไมผมไม่เดินบนเส้นทางของวิศวกรที่ผมศึกษามา ผมมีภาษาการพูดหรือการขีดเขียนที่มีท่วงทำนองดังกวีได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ตกวิชาภาษาไทย ทำไมผมเลือกไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาทางเลือกแนวพุทธอย่างนาโรปะ (Naropa University)  เส้นทางชีวิตที่ดูผิดแผกแตกต่างจากคนทั่วไปนำมาซึ่งคำถามที่ผมย้อนถามและสืบค้นกับตัวเอง 

[3 - 9 ธ.ค. 55] นิเวศภาวนา


“เพียงตั้งคำถามได้นั้นไม่เพียงพอหรอก ฉันอยากจะตอบได้ต่างหาก 
โดยเฉพาะคำถามซึ่งดูจะเกี่ยวพันกับทุกสิ่งที่ฉันพบเจอ ฉันมาอยู่ที่นี่เพื่ออะไร?”
- อับราฮัม โจชัว เฮเชล

           นิเวศภาวนา (Eco-Quest) เป็นการแสวงหาทางจิตวิญญาณ หรือพิธีกรรมแห่งการแปรเปลี่ยนชีวิต (Rite of Passage) ที่กระทำกันในหลายวัฒนธรรม เป็นพื้นที่ให้เราสร้างหลักหมายให้ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต เช่น จากวัยรุ่นสู่วัยผู้ใหญ่ รวมถึงการทบทวนชีวิต ยอมรับความทุกข์ ความผิดพลาดหรือเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในอดีต การลาจากของคนรัก ไม่ว่าจะเพราะความตายมาพรากให้จากกัน หรือความสัมพันธ์มีอันต้องเลิกราไป เป็นต้น

          การได้อยู่ลำพังคนเดียว อดอาหาร และใกล้ชิดกับธรรมชาติในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และท้าทายนี้ จะช่วยดึงความเข้มแข็งภายในของคุณออกมา เยียวยาร่างกายและจิตใจให้ฟื้นคืนสู่สมดุล และกลับมาได้ยินเสียงบรรเลงแห่งจิตวิญญาณภายในของตนได้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โปรแกรมนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังสนใจค้นหา/ตั้งคำถามถึงเป้าหมายในชีวิต และผู้ที่ต้องการขัดเกลาการเดินทางทางจิตวิญญาณของตนให้ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นด้วย

Beginner's Mind: Introduction to Dialogue


การอบรมเชิงประสบการณ์ขั้นเริ่มต้นสู่การเข้าใจตนเองและผู้อื่น
 นำกระบวนการโดย โอม รัตนกาญจน์
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2555 (9:00-17:00 น.)
ณ บ้านพักคริสเตียน ซ.ศาลาแดง 2 กรุงเทพฯ

“In the beginner’s mind there are many possibilities, but in the expert’s there are few. / ในจิตของผู้เริ่มต้น มีความเป็นไปได้มากมาย แต่ในจิตของผู้รู้ 
(ผู้ที่ถือว่าตนรู้แล้ว) ความเป็นไปได้มีจำกัด”
- ชุนริว ซูซูกิ (จากหนังสือ Zen Mind, Beginner’s Mind)

นี่คือหัวใจสำคัญของการเข้าถึงคำสอนของเซน (Zen) เพราะสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการฝึกตนในวิถีนี้ มิใช่การพยายามอดทนปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมอย่างอุทิศชีวิต แต่คือการรักษา “จิตของผู้เริ่มต้น” ที่เปิดรับความเป็นไปได้ต่างๆ โดยธรรมชาติ เปรียบดั่งจิตอันบริสุทธิ์ดั้งเดิมของเด็ก ผู้เฝ้ามองสังเกตสิ่งต่างๆ ด้วยสายตาแห่งความสนใจใคร่รู้ เบิกบาน และมีชีวิตชีวา

เช่นเดียวกับการฝึกปฏิบัติในวิถีของ Dialogue ที่เราจะสามารถเข้าใจความหมายและแก่นสารของผู้คนทั้งหลายได้  ก็เมื่อเราพัฒนาการเปิดรับรู้ให้เป็นดังจิตของผู้เริ่มต้น ที่สามารถเฝ้าสังเกตและรับรู้สิ่งต่างๆได้อย่างละเอียดลุ่มลึก และเป็นอิสระจากอิทธิพลของการตีความด้วยความคิดเห็นและความรู้เดิมๆ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่แตกต่างจากการฝึกพูด ฝึกแสดงความคิดเห็น หรือการแสดงตัวตนให้ดูเก่งกาจและฉลาดปราดเปรื่อง นี่เป็นการฝึกการรู้เท่าทันโลกภายในของตัวเอง ที่เต็มไปด้วยเสียงของอัตตาตัวตน ที่มีกระบวนการตีความ ตัดสินและการด่วนสรุปอัตโนมัติภายใต้กรอบความคิด ความเชื่อ และระบบคุณค่าเป็นพื้นฐาน และมีอิทธิพลต่อการแสดงออกและความสัมพันธ์ที่เรามีต่อโลก

เมื่อเราฝึกเท่าทันสิ่งนี้ในตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆการได้ยินของเราจะเปลี่ยนไป ”เมื่อการได้ยินเปลี่ยน ชีวิตก็จะเปลี่ยน”

คอร์สนี้เหมาะสำหรับ:
1. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับตัวเอง ค้นหาแรงบันดาลใจ สิ่งที่เราให้คุณค่า และสำคัญต่อชีวิต
2. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เรื่องความสัมพันธ์ และต้องการกลับไปฟื้นฟูดูแลความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดและครอบครัว
3. ผู้ที่ต้องการสร้างทีมงาน สามารถแปรความขัดแย้งไปสู่ความเข้าใจ และทำงานอย่าง "งานได้ผล คนเป็นสุข"
4. ผู้ที่สนใจแนวคิดเรื่อง Dialogue (สุนทรียสนทนา) และการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงทั้งการทำงานและครอบครัว 


นำกระบวนกร โดย:  โอม รัตนกาญจน์

อดีตวิศวกรผู้หันมาทำงานพัฒนาตัวเองและครอบครัวให้มั่นคงและมีความสุข  มีประสบการณ์ในการนำกระบวนการ Dialogue ร่วมกับณัฐฬส วังวิญญู มาแล้วกว่า 3 ปี

ปัจจุบัน  กำลังศึกษาปริญญาโทด้านการเป็นกระบวนกร (Facilitator) สาขาการคลี่คลายความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงองค์กร ณ สถาบัน Process Work เมืองพอร์ทแลนด์ สหรัฐอเมริกา

"ผมรู้จักโอมมา 5 ปีและได้ร่วมงานกันนับตั้งแต่ก่อตั้งขวัญแผ่นดิน โอมเป็นกระบวนกรที่มีพัฒนาการรวดเร็วมาก มีความสามารถสูง ละเอียดและแม่นยำ เวลาทำกระบวนการ มันเหมือนกับเขากำลังบรรจงสร้างงานศิลปะที่งดงาม ประณีตและลึกซึ้ง ที่ช่วยนำพาผู้คนให้ได้สำรวจชีวิตตัวเองอย่างทะลุทะลวงถึงแก่น เรื่องราวที่เขาแชร์กับผู้คนมีพลังของความจริงแท้และความถ่อมตนเสมอ

ผมคิดว่าเขาเป็นคนหนึ่งที่เข้าถึงการรับฟังระดับลึกได้อย่างน่าทึ่ง และสร้างแรงบันดาลใจให้กับการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนจำนวนมากในช่วงระยะเวลา 3 ปีกว่าที่ผ่านมา" 

- ณัฐฬส วังวิญญู, ผู้ก่อตั้งสถาบันขวัญแผ่นดิน

ค่าลงทะเบียน: 
2,000 บาท/ท่าน (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

สอบถามและลงทะเบียน: 
087-000-2270 (ภาค) , 081-427-5255 (ตู่),
*รับสมัครจำนวนจำกัด กรุณาสมัครภายใน 23 ก.ค. 55

ของขวัญอันลํ้าค่าที่เราจะมอบให้กับโลกใบนี้ได้ คือ ตัวเราที่แท้จริง

"The gift you carry for others 
ของขวัญที่คุณนำมามอบให้ผู้อื่น
is not an attempt to save the world 
มิใช่ความพยายามรักษาโลกเอาไว้
but to fully belong to it. 
แต่คือการเป็นของโลกอย่างเต็มเปี่ยม

It's not possible to save the world by trying to save it. 
เราจะรักษาโลกด้วยความพยายามได้อย่างไร
You need to find what is genuinely yours to offer the world 
เธอต้องค้นหาว่าอะไรคืออัจฉริยภาพที่เธอมอบให้โลกได้
before you can make it a better place. 
ก่อนที่เธอจะทำอะไรให้โลกดีขึ้น

Discovering your unique gift to bring to your community
การค้นพบของขวัญพิเศษแล้วนำมันกลับมาสู่ชุมชนของเธอ
is your greatest opportunity and challenge.
คือ โอกาสที่ดีที่สุด และท้าทายที่สุด ที่เธออาจมี

The offering of that gift — your true self —
การมอบของขวัญชิ้นนั้น - ตัวตนที่แท้จริงของเธอ -
is the most you can do to love and serve the world.
คือสิ่งที่คุณทำได้มากที่สุด เพื่อจะแสดงความรักและรับใช้โลกนี้
And it is all the world needs."
และมันคือทั้งหมดที่โลกจะต้องการจากเธอ

จาก Soulcraft  โดย Bill Plotkin

เจ้าหนูกระโดด: ตอนที่ 1

 กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีเจ้าหนูตัวหนึ่ง มันยุ่งอยู่กับการเสาะหาอาหารทุกที่ อาศัยหนวดและจมูกที่ว่องไว ดมนั่นดมนี่ไปทั่ว ทั้งพุ่มหญ้าและซอกดิน ไม่ต่างจากหนูทั่วไปที่มีชีวิตง่วนอยู่กับกิจธุระแบบหนูๆ นั่นแหล่ะ

แต่แล้ววันหนึ่ง มันกลับเริ่มได้ยินเสียงแปลกๆ..  มันจะเชิดหัวขึ้นสูงแล้วเพ่งมองไปรอบๆ พร้อมกับขยับหนวดขยุกขยิกไปมาเพื่อค้นหาที่มาของเสียงประหลาดนี้ จนกระทั่งวันหนึ่งที่มันรู้สึกทนต่อไปไม่ได้แล้ว จึงกระโดดเข้าไปถามเพื่อนหนูที่อยู่ใกล้ๆ ว่า

"นี่ๆ พี่ชาย หูของนายได้ยินเสียงอะไรคำรามบ้างไหม"
“ไม่นี่ ไม่เลย" หนูอีกตัวตอบโดยไม่ละจมูกที่คุ้ยหาเศษอาหารขึ้นจากพื้นดิน "ไม่ได้ยินอะไรเลย ตอนนี้ฉันยุ่ง ไว้ค่อยคุยเถอะ"
มันจึงไปถามหนูอีกตัวด้วยคำถามเดียวกัน หนูตัวนั้นมองมันแปลกๆ "นี่สมองเธอกลวงไปแล้วรึ๊ เสียงอาไร้" ถามแล้วหนูตัวนั้นก็วิ่งหายไปในช่องระหว่างต้นฝ้ายที่ล้มอยู่

เจ้าหนูกระโดด: ตอนที่ 2


เจ้าหนูน้อยค่อยๆเดินเข้าไปใกล้ๆแม่น้ำแล้วชะโงกมองไปที่น้ำแล้วเห็นเงาสะท้อนของหนูที่ดูกลัวๆอยู่บนน้ำ

“เจ้าคือใครน่ะ?” หนูน้อยถาม “เจ้าไม่กลัวที่ต้องออกมาอยู่แถวแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่และไกลจากบ้านขนาดนี้หรือไง?”

“ไม่” กบตอบ “ฉันไม่กลัวหรอก ฉันได้รับของขวัญมาตั้งแต่ตอนเกิดให้สามารถอยู่ทั้งเหนือน้ำและในน้ำได้ ในยามที่เหมันตบุรุษมาเยือนและแช่แข็งพลังวิเศษนี้ ก็จะไม่มีใครมองเห็นฉัน แล้วอีกไม่นานเมื่อนกสายฟ้าบินมาเยือน ฉันก็กลับมาอยู่ที่นี่อีกครั้ง ถ้าอยากจะมาเยี่ยมเยี่ยนฉันล่ะก็ เธอต้องมายามที่ฤดูกาลเป็นสีเขียวนะ น้องชายที่รักฉันคือผู้ปกปักษ์น้ำ”

เจ้าหนูกระโดด: ตอนที่ 3


ในขณะที่มันกำลังสำรวจดินแดนใหม่แห่งนี้ มันก็ได้ยินเสียงหายใจหนักๆ มันเลยรีบหาที่มาของเสียงอย่างรวดเร็วแล้วก็พบว่าเป็นตัวอะไรสักอย่างที่ขนดกมาก แถมมีเขาด้วย มันคือควายป่าผู้ยิ่งใหญ่นั่นเอง เจ้าหนูกระโดดแทบไม่เชื่อสายตาว่าสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่จะมานอนให้เห็นอยู่เบื้องหน้าตัวเอง มันใหญ่มากจนหนูกระโดดสามารถคลานเข้าไปอยู่ในวงของเขาได้เลย “เป็นสิ่งมหัศจรรย์จริงๆ” มันคิดในใจ แล้วคืบคลานเข้าใกล้อีกนิด

“สวัสดีพี่ชาย” หนูกระโดดทัก “ทำไมท่านจึงมานอนอยู่อย่างนี้ล่ะ?”

“ฉันป่วยและใกล้จะตายแล้ว” กระทิงระพึง

เจ้าหนูกระโดด: ตอนจบ


แล้วหนูกระโดดก็รีบเริ่มสำรวจที่ใหม่แถวนั้นทันที ที่นี่มีสิ่งต่างๆมากกว่าที่อื่นๆเสียอีก

มีเมล็ดธัญพืชมากมายและทุกอย่างที่หนูชอบ พอสำรวจไปสักพักก็ไปเจอหมาป่าสีเทาตัวหนึ่งนั่งนิ่งๆอยู่เฉยๆ

“สวัสดีจ้า พี่หมาป่า” หนูกระโดดทัก

หูของหมาป่าตั้งผึ่งขึ้น ตาก็เปล่งประกาย “วู้ฟ วู้ฟ ใช่ ฉันคือหมาป่า” แต่สักพักเสียงก็หรึ่เบาลง แล้วมันก็กลับไปนั่งเงียบเชียบเหมือนเดิม และหลงลืมว่ามันคือใคร เวลาหนูกระโดดเตือนให้มันจำได้ว่ามันคือใคร มันก็จะตื่นเต้นกับถ้อยความใหม่ที่ได้รับ แต่แล้วก็จะหลงลืมไปอีกทุกครั้ง

“ช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่งดงามยิ่ง” หนูกระโดดรำพึง “แต่เสียดายที่ไม่มีความทรงจำเลย”
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...