พันธะพึ่งพิง (Bonding Pattern)


พันธะพึ่งพิง (Bonding Pattern) : มุมมองของสนทนากับเสียงภายในกับการพัฒนาองค์กร


บทเรียนของสนทนากับเสียงภายใน หรือ Voice Dialogue Work VDW ที่เจมี่มอบให้โดยเฉพาะในระดับหนึ่งบี คือเรื่อง Bonding Pattern ซึ่งหมายถึงแบบแผนความสัมพันธ์ที่เรามีต่อใครก็ตาม แต่เป็นไปหรืออ้างอิงอยู่สัมพันธภาพที่ พ่อแม่ลูกมักจะมีต่อกัน

ในแบบแผนดังกล่าว อยู่บนพื้นฐานของจิตวิทยาตัวตน (Psychology of  Selves)ที่ว่า บุคลิกภาพของเราตัวตนของเราแต่ละคน ประกอบด้วยบุคลิกย่อย ๆ ตัวตนต่าง ๆ ที่ก่อกำเนิดเสียงด้านต่าง ๆ และแต่ละบุคลิกย่อย หรือตัวตนและเสียงของเขานั้น ต่างมีมุมมอง จุดยืน ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นตัวของเขาเอง เพื่อตอบสนองความต้องการของเขาเหล่านั้น ซึ่งก็หมายถึง ความต้องการของตัวเรานั้นแหละในหลาย ๆ ด้าน หลายทางที่เราอาจจะคาดไม่ถึง หรีอละเลยด้วยลืมเลือนไปแล้ว

แบบแผนของบุคลิกย่อย หรือตัวตนที่เราแต่ละคนมีติดตัวกันมาแต่เกิดขึ้น ตัวตนที่เป็นลูก และตัวตนที่เรารู้จักคู้นเคยคือ พ่อแม่ของเรา แม้นเราจะเป็นเด็กกำพร้าอย่างไร แบบแผนบุคลิกของตัวตนพ่อแม่ลูกเหล่านี้ก็ยังดำรงอยู่อย่างเป็นสากลอยู่ในบุคลิกทางจิตของเราอยู่ดี

อันที่จริงแล้วแบบแผนความสัมพันธ์ที่พึงพิง อย่างพ่อแม่ลูกนี้ สะท้อนออกมาในความสัมพันธ์กับผู้คนต่าง ๆ อยู่เสมอ ๆ  หากเราไม่ตระหนักและรู้เท่าทันตัวตน (Aware Ego Process) บ่อยครั้งที่เรารำคาญหมั่นไส้คนบางคน เพราะเราเห็นว่า เขาไม่ฟังเรา เขาไม่เชื่อฟังเรา เรามักจะใช้คำว่า ดื้อ กับเขาหรือเธอคนนั้น

คำว่า ดื้อ นี่ฟังดูคุ้น ๆ ไหม เสียงของใครหนอ ที่เคยบอกเราว่า เราดื้อ  หากคนที่เราเห็นว่า เขาดื้อ เป็นลูกน้องเรา  เรากำลังมองเห็นเขามิใช่เป็นลูกน้องเท่านั้น แต่อาจจะเป็นลูกสาวหรีอลูกชายของเราด้วย  (ถึงแม้เราจะยังโสดและไม่เคยมีลูกด้วยตัวเองก็ตาม) และเมื่อเรามองเห็นเขาเป็น ลูก (น้อง) ดื้อ เราก็กำลังปล่อยให้ด้านหนึ่งของตัวเรา บุคลิกย่อยอันเป็นสากลของเรา ที่อาจจะเป็นพ่อหรีอแม่ เข้ามามีบทบาท อย่างไม่รู้ทัน (ปราศจาก aware ego) แล้ว ขณะเดียวกัน ลูกน้องของเรา ก็กำลังเข้าส่แบบแผนพันธะที่ว่า เมื่อเขาเริ่มเห็น เจ้านายของเขาเป็น พ่อ หรือ แม่ และเขาก็อาจจะปล่อยให้อีกด้านของเขา บุคลิกย่อยบางด้านของเขา เขามาดำเนินการในความสัมพันธ์กับเรา

ขณะที่เรา (เจ้านาย) เห็นว่า เขาเป็น ลูกดื้อ เขาก็มองเห็นเจ้านายของเขา เป็น พ่อหรือแม่ ขี้บ่น จู้จี้ บงการ เผด็จการ หรือครอบงำ แล้วเขาก็เริ่มเล่นบท ลูกเป็นตัวของตัวเอง ลูกรักอิสระ  และเมื่อเราเห็นลูก(น้อง)ขัดขืน หรือแม้แต่เฉยเมยกับเรื่องที่เราย้ำเน้น  เหล่าเจ้านายที่ไม่รู้ทันพันธะเช่นน้ี ก็ยิ่งมองเห็น ความไม่เอาไหนของลูก(น้อง) เห็นอาการเป็นตัวของตัวเอง เป็นลูกขบถ ลูกกระด้างกระเดื่อง

การถกเถียงพูดคูยใด ๆ ในที่ทำงานหลังจากที่ต่างฝ่ายต่าง พาตัวเองเข้าหาแบบแผนที่ว่า ต่างคนต่างพึงพิงกันและกัน เมื่อเธอเล่นบทนี้ ฉันก็เล่นอีกบทหนึ่ง เมื่อเธอเป็นพ่อแม่จอมสั่งการ ฉันก็เป็นลูกจอมดื้อด้าน  เมื่อเธอเล่นบทลูกขบถ ฉันก็ยิ่งเล่นบทนักปราบปรามให้ราบคาบ

ความสัมพันธ์ในองค์กรจะทางธุรกิจ หรีอองค์กรสาธารณะ ที่มีคนทำงานอยู่มากกว่า หนึ่งคน มีโอกาสที่จะอยู่ในพันธะเช่นนี้ในทุกองค์กร และหน่วยงานต่างมีโอกาสที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ใดใดในองค์กร ไปตามพันธะพึงพิงเช่นนี้ หากไม่มีกระบวนการรู้ทันตัวตน ( Aware Ego Process)

องค์กรจะมีวิสัยทัศน์เป็นเลิศเพียงใด แต่สัมพันธภาพของผู้คนตกอยู่ภายใต้พันธะพึงพิงเช่นนี้ องค์กรนั้นก็เป็นองค์กรแบบครอบครัวอยู่ดี ถึงแม้จะไม่เป็นครอบครัวตามสายเลือด แต่ก็เป็นครอบครัวตามเสียงภายในของผู้คนแต่ละคนในองค์กรนั่นเอง

การเรัยนรู้ Bonding Pattern ซึ่งมีทั้งทางบวกและทางลบ แต่ในบันทึกนี้เขียนถึงทางลบเป็นตัวอย่าง จึงจำเป็นสำหรับผู้บริหารที่จะบริหารลูกน้อง หรือลูกน้องจะบริหารเจ้านายอย่างรู้เท่าทันตัวตน เพื่อมิให้การพัฒนาองค์กรซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่สำคัญกลายเป็นการถกเถียงเอาแพ้เอาชนะระหว่าง พ่อแม่ลูก ที่ตกลงกันไม่ได้ว่า สุดสัปดาห์นี้จะไปเที่ยวที่ไหนกันดี จะกินสุกี้ หรีอกินชาบู ไปภูเขา หรือไปทะเล หรือไปทะเลาะกันที่ไหนดี

Bonding Pattern จะถูกเจมี่นำเสนอ ใน การเรียน VDW Foundations level 1a  และลงลึกเข้มข้นขึ้นใน 1b โดยอาศัยการสัมภาษณ์ตัวตน VDW Facilitation....

เวลา level 1a 17 - 20 กุมภาพันธ์ level 1b 3 - 6 มีนาคม  9 00 - 16 00 น. สถานที่บ้านเซเวียร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 084-665-3894 (นา) , kwanpandin@gmail.com

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...