เมื่อ พอ ก็ เป็น ไท
โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2553
คำร้อง คำบ่น คำต่อว่าที่หนาหูทุกวันนี้คือ นักเรียนไม่สนใจจะเรียน อยากได้แต่เกรด พนักงานไม่อยากเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น เราจำต้องหาอุบายหลอกล่อให้คนเหล่านี้ เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คำถามคือจะทำได้อย่างไร ผมคิดว่าคำตอบอยู่ในตัวคนที่ถามมากกว่าอะไรอื่นทั้งหมด
ตอนนี้องค์กรจำนวนมากพยายามฟื้นฟูบรรยากาศการทำงาน ความสัมพันธ์ และความสุขในองค์กร เพราะประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแก้ปัญหาเชิงเทคนิควิธีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาเชิงจิตใจและความสัมพันธ์ของคนในองค์กรมากกว่า
การเปลี่ยนแปลงองค์กรโดยการปรับโครงสร้างใหม่พบกับความล้มเหลวถึงร้อยละ 60 - 70 ไม่ใช่เพราะยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ไม่ได้เรื่อง แต่การดูแลมิติด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ขาดความเข้าใจในธรรมชาติที่ละเอียดอ่อนของมนุษย์ ทำให้ยุทธศาสตร์ใหม่ๆ ที่ออกแบบมาดีด้วยความชำนาญการ ต้องไร้แรงขับเคลื่อนของผู้คนที่เต็มใจจะทำจริงๆ
ผมรู้สึกว่าเราไม่ค่อยให้คุณค่ากับหัวใจของมนุษย์อย่างที่ปากเราว่ากัน ถึงที่สุดแล้วเราสนใจเรื่องความสำเร็จหรือเป้าหมายขององค์กรมากกว่าเป้าหมายชีวิตของผู้คนหรือเปล่า หากไม่ให้ใจ แล้วจะได้ใจได้อย่างไร ก่อนจะคาดหวังความร่วมไม้ร่วมมือจากผู้คน เราได้ให้ใจเราในการรับรู้สิ่งที่พวกเขาให้คุณค่า ให้ความสำคัญ กลัว รัก หรือปรารถนาอย่างแท้จริงหรือเปล่า
Posted by
Nanachidtang
0
comments
Labels:
Butterfly Journal,
Contemplative Education,
ณัฐฬส วังวิญญู

ชวนเพื่อนมาภาวนา
"ด้วยการแปรเปลี่ยนความทุกข์ เป็นความกรุณา
แปรเปลี่ยนความกรุณาให้เป็น หัวใจสงบเย็น
แปรเปลี่ยนหัวใจสงบเย็นให้เ ป็นผู้คนที่มีสันติภาพ
แปรเปลี่ยนผู้คนที่มีสันติภ าพให้เป็นสังคมแห่งสันติ"
แปรเปลี่ยนความกรุณาให้เป็น
แปรเปลี่ยนหัวใจสงบเย็นให้เ
แปรเปลี่ยนผู้คนที่มีสันติภ
ท่ามกลางความรุ่มร้อนของวิกฤติการเมือง กลุ่มเพื่อนภาวนา (เฟซบุ๊คกลุ่ม) ขอเชิญทั้งหนุ่มทั้งสาว ทั้งอ่อนทั้งแก่ ทั้งที่มีศาสนาและไม่มีศาสนา มาร่วมเป็นหยดน้ำชุ่มเย็น ด้วยการภาวนา สร้างสันติภาวะภายในใจเราให้เกิดขึ้น โดยไปพบกันที่ :
ทุกวัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
นุ้ก – ธีรัช พิริยะปัญญาพร 084-003-4536
หรือ อีเมล์ SiamBhavana@Gmail.com
นุ้ก – ธีรัช พิริยะปัญญาพร 084-003-4536
หรือ อีเมล์ SiamBhavana@Gmail.com
[จดหมายข่าวผีเสื้อ : เมษา53] การงานที่สอดคล้องกับชีวิตเรา
ถ้าเราคอยแต่เงี่ยฟังแต่“สิ่งที่ควรทำ”ในชีวิตเป็นหลัก เราก็อาจตกอยู่ ในวงล้อมของเสียงของความคาดหวังจากภายนอกที่สามารถทำให้ความเป็นตัวเราและความสอดคล้องภายในบิดเบือนไป หากจะใช้การคิดคำนวณทางคุณธรรมแล้ว มันมีสิ่งที่เรา"ควร"จะทำมากมาย แต่นั่นคืออาชีพของเราหรือเปล่า แล้วเรามีพรสวรรค์หรือมีเสียงเรียกให้ทำมันหรือเปล่า? สิ่งที่ควรทำนั้น เป็นจุดบรรจบพอดีกันของความเป็นเรากับโลกภายนอกหรือไม่ หรือเป็นเพียงภาพลักษณ์ของคนอื่นที่เราคิดว่า "ควร"จะเอาเป็นแบบอย่างให้กับชีวิต?
เมื่อผมยอมทำตามสิ่งที่ “ควร” จะทำเท่านั้น ผมก็อาจจะพบว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นเรื่องที่ดี น่ายกย่องสรรเสริญ แต่กลับไม่ใช่เรื่องของผม การทำงานที่ไม่ใช่ของเรานั้นไม่ว่ามันจะได้รับคุณค่าจากโลกภายนอกเพียงใดก็ตามนั้น
Subscribe to:
Posts (Atom)