ทะลายกรอบแห่งชนชั้น

โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 30 เมษายน 2554

ในองค์กรหรือสังคม เมื่อได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เราควรจะคุยกันดีๆ ค่อยพูดค่อยจากัน ใช้เหตุใช้ผล อย่าใช้อารมณ์” หรือ “ผมอยากให้ทุกคนรักกันและยอมรับกันและกันนะครับ” ผมจะตั้งข้อสังเกตก่อนเลยว่ามุมมองนี้มาจากสถานภาพหรือชนชั้นไหนของสังคมนั้นๆ มีอำนาจเชิงเกื้อกูลหรือกดข่ม เพราะบางครั้งคำกล่าวนี้มาจากผู้ที่อยู่ในสถานะที่เหนือกว่า หรือได้เปรียบกว่า ที่มักปรารถนาความสงบ สันติภาพ ความปรองดองหรือความสุขโดยปราศจากการรับรู้ถึงความทุกข์ร้อน หรือบาดเจ็บของผู้ที่อยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าในสังคม และความรุนแรงมักเป็นผลมาจากการไม่ได้รับความใส่ใจรับรู้และการถูกละเลยนี้เอง อนิจจา…คนที่รักสันติภาพมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อมุมมองและความรู้สึกนึกคิดและบ่อยครั้งก่อให้เกิดอุปสรรคของการสื่อสารในองค์กรหรือสังคมนั้น มักเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ วุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ต่างกัน ทักษะในการสื่อสารไม่มากพอ ความแตกต่างของบุคลิกภาพ การไม่มีเวลาหรือขาดโอกาสในการสื่อสาร และที่สำคัญยิ่งคือความแตกต่างของสถานภาพในสังคม (Rank)

ในหนังสือ นั่งในไฟเพลิง (Sitting in the Fire)

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...