ช้าเป็น ได้เปรียบ
โดย ณัฐฬส วังวิญญู
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 2 กรกฎาคม 2554
ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ พยายามแก้ปัญหาคนทำงานขาดความกระตืนรือล้น ขาดการเรียนรู้พัฒนาตัวเอง ขาดการทำงานเป็นทีม ขาดนวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ความขัดแย้ง และการแบ่งฝักฝ่าย ขาดความร่วมมือและความสามัคคี ทั้งๆ ที่มีคนเก่งและความตั้งใจที่ดี แต่ยังแยกส่วนไม่เชื่อมประสานกัน
ผู้บริหารมีนโยบายจัดอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวผ่านวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่เชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องการพัฒนาองค์กร หรือการเพิ่มพลังชีวิตให้เป็นสุข และสร้างความมุ่งมั่นในการทำงาน หรือไม่ก็ทำกิจกรรม สร้างความเป็นทีม เพื่อคลี่คลายปัญหาขุ่นข้องหมองใจและการแบ่งแยกห่างเหิน หรือเป็นปฏิปักษ์ภายใน ไปจนถึงการพาพนักงานไปปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาสติและความสุขให้เกิดขึ้นในการทำงาน โดยส่วนใหญ่เป้าหมายสุดท้ายของความพยายามเหล่านี้ก็เพื่อการสร้างผลงานที่มากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพงานดีขึ้น เพราะองค์กรโดยมาก ไม่ว่าจะเป็นราชการหรือธุรกิจหรือแม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชน ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อทำให้คนในองค์กรมีความสุข แต่มีเป้าหมายจำเพาะที่ต้องบรรลุ ดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นไปเพื่อนำไปผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมายอีกทีหนึ่ง
ไม่แปลกที่หลายองค์กรได้พัฒนาความรู้และทักษะในการทำงาน หรือแม้แต่ปรับปรุงคุณภาพและระบบงานได้อย่างครบถ้วนก้าวหน้า แต่ยังขาดสิ่งที่จะขับเคลื่อนระบบ
Posted by
Nanachidtang
0
comments
Labels:
Bohm's Dialogue,
Living Organization,
ณัฐฬส วังวิญญู,
บทความ

Subscribe to:
Posts (Atom)